- มีแสงสว่างจ้าเข้าตา เช่น ออกกลางแดดจ้า ๆ แสงจ้า แสงไฟกะพริบ แสงสีระยิบระยับในโรงมหรสพหรือสถานเริงรมย์ เป็นต้น
- การใช้สายตาเพ่งดูอะไรนาน ๆ เช่น ดูภาพยนตร์ หนังสือ จอคอมพิวเตอร์ หรือกล้องจุลทรรศน์ เย็บปักถักร้อย เป็นต้น
- การอยู่ในที่ที่มีเสียงดังจอแจ เช่น ตลาดนัด หรือเสียงอึกทึก (เช่น เสียงกลอง เสียงระฆัง)
- การสูดดมกลิ่นฉุน ๆ เช่น กลิ่นน้ำมันรถ กลิ่นสีหรือทินเนอร์ กลิ่นสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอมหรือดอกไม้ เป็นต้น
- การดื่มกาแฟมาก ๆ ก็อาจกระตุ้นให้ปวดได้ (แต่บางคนดื่มกาแฟแล้วอาการทุเลา หรือขาดกาแฟกลับทำให้ปวดไมเกรน)
- เหล้า เบียร์ เหล้าองุ่นแดง (red wine) ถั่วต่าง ๆ กล้วย นมเปรี้ยว เนยแข็ง ช็อกโกแลต ตับไก่ ไส้กรอก อาหารทะเล อาหารทอดน้ำมัน อาหารหมักดองหรือรมควัน ผงชูรส น้ำตาลเทียม (aspartame) สารกันบูด ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (เช่น ส้ม มะนาว) หอม กระเทียม ล้วนกระตุ้นทำให้ปวดได้
- ยานอนหลับ ยาขยายหลอดเลือด (เช่น ไนโตรกลีเซอรีน) ยาลดความดัน (เช่น ไฮดราลาซีน รีเซอร์พีน) ยาขับปัสสาวะ
- การอยู่ในที่ร้อนหรือเย็นเกินไป เช่น อากาศร้อนหรือหนาวจัด ห้องที่อบอ้าว ห้องปรับอากาศเย็นจัด อากาศเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
- การอดนอน (นอนไม่พอ) หรือนอนมากเกินไป การนอนตื่นสาย (เช่น ในวันหยุดสุดสัปดาห์)
- การอดข้าว กินข้าวผิดเวลา หรือกินอิ่มจัด เชื่อว่าเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งกระตุ้นให้ปวดศีรษะได้ บางครั้งพบว่าผู้ป่วยไมเกรนเมื่อเป็นโรคเบาหวาน (มีน้ำตาลในเลือดสูง) อาการปวดจะหายไป
- การนั่งรถ นั่งเรือ หรือนั่งเครื่องบิน
- การเปลี่ยนแปลงของระดับความสูงหรือความดันบรรยากาศ
- อาการเจ็บปวดตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- การเป็นไข้ เช่น ตัวร้อนจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
- การออกกำลังกายจนเหนื่อยเกินไป รวมทั้งการร่วมเพศ
- ร่างกายเหนื่อยล้า
- การถูกกระแทกแรง ๆ ที่ศีรษะ (เช่น การใช้ศีรษะโหม่งฟุตบอล) ก็อาจทำให้ปวดศีรษะทันที
- อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ สำหรับผู้ป่วยหญิงมีผลต่อการเกิดอาการไมเกรนอย่างมาก เช่น บางรายมีอาการปวดเฉพาะเวลาใกล้จะมีหรือขณะมีประจำเดือน บางรายในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ก็อาจทำให้อาการกำเริบมากขึ้น เมื่อเลยระยะ 3 เดือนไปแล้ว อาการมักจะหายไปจนกระทั่งหลังคลอด (ในระยะ 6 เดือนหลังของการตั้งครรภ์มักมีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนสูง) บางรายกินยาเม็ดคุมกำเนิด (มีฮอร์โมนเอสโทรเจน) ทำให้ปวดบ่อยขึ้น พอหยุดกินยาก็ดีขึ้น หรือฉีดยาคุมกำเนิดอาการมักจะทุเลา
- ความเครียดทางอารมณ์ คิดมาก อารมณ์ขุ่นมัว ตื่นเต้น ตกใจ
มักมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดแบบตุบ ๆ (เข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจ) ที่บริเวณขมับข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดสลับข้างในแต่ละครั้ง ส่วนน้อยจะปวดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง บางรายอาจมีอาการปวดที่รอบ ๆ กระบอกตาร่วมด้วย แต่ละครั้งมักจะปวดนาน 4-72 ชั่วโมง และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือสัมผัสถูกแสง เสียง หรือกลิ่น มักปวดรุนแรงปานกลางถึงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย (หลังอาเจียนอาการปวดจะค่อย ๆ ทุเลาไปเอง) ผู้ป่วยมักมีอาการกลัว (ไม่ชอบ) แสงหรือเสียงร่วมด้วย ชอบอยู่ในห้องที่มืดและเงียบ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาพร่ามัว คัดจมูก ท้องเดิน ปัสสาวะออกมาก ซีด เหงื่อออก บวมที่หนังศีรษะหรือใบหน้า เจ็บหนังศีรษะ มีเส้นพองที่ขมับ ขาดสมาธิ อารมณ์แปรปรวน รู้สึกศีรษะโหวง ๆ รู้สึกจะเป็นลม แขนขาเย็น เป็นต้น
บางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุน โดยอาจมีหรือไม่มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วยก็ได้*
*ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุนเป็นสำคัญ ซึ่งมักเป็นอยู่นานเป็น 5 นาทีจนถึง 72 ชั่วโมง โดยอาจมีอาการก่อนหรือหลัง หรือเป็นพร้อมกันกับอาการปวดศีรษะ หรืออาจไม่มีอาการปวดศีรษะเลยก็ได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกโคลงเคลง เสียการทรงตัว สับสน หูตึงหรือได้ยินไม่ชัด หูอื้อหรือมีเสียงในหู หรือกลัวแสง กลัวเสียง (แสงเสียงจะกระตุ้นให้อาการกำเริบหนัก) ร่วมด้วย มักเกิดขึ้นเมื่อหันศีรษะเร็ว นั่งยานพาหนะหรือเครื่องเล่น อยู่ในฝูงชนแออัด สับสนอลหม่าน หรือดูสิ่งที่เคลื่อนไหว (เช่น รถแล่น คนเดิน) หรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพยนตร์ โทรทัศน์) และอาจมีสาเหตุกระตุ้นอื่น ๆ แบบที่กระตุ้นให้มีอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยไมเกรน ผู้ป่วยมักมีประวัติโรคไมเกรนในครอบครัว มีประวัติปวดศีรษะจากโรคไมเกรน หรือมีอาการเมารถเมาเรือบ่อย ๆ มาก่อน ไมเกรนชนิดนี้ เรียกว่า "ไมเกรนชนิดเวียนศีรษะ" ("vestibular migraine" "migraine- associated vertigo" "migrainous vertigo" หรือ "migraine-related vestibulopathy") สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับหูชั้นใน (ซึ่งทำหน้าที่ด้านการได้ยินและการทรงตัว) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า มักพบในคนอายุราว ๆ 40 ปี แต่ก็อาจพบในคนอายุน้อยก็ได้
การรักษา ให้ยาบรรเทาตามอาการ อาทิ ยาแก้ปวด (เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน) ยาแก้เวียนศีรษะ บ้านหมุน (เช่น ไดเมนไฮดริเนต) ในรายที่เป็นบ่อยหรือกระทบต่อการดำเนินชีวิต แพทย์ก็จะให้ยาป้องกันแบบที่ใช้กับโรคไมเกรน
- ไมเกรนชนิดแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก (hemiplegic migraine) พบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 20 ปี มักมีประวัติโรคไมเกรนชนิดนี้ในครอบครัว เมื่อมีอาการกำเริบ จะมีอาการแขนและขาซีกหนึ่งอ่อนแรง อาจสลับข้างในการกำเริบแต่ละครั้ง อาการอาจเป็นอยู่นานประมาณ 5-60 นาที บางรายอาจนานถึง 24 ชั่วโมง และอาจมีอาการชา ตาพร่า เดินเซ ชัก หรือหมดสติร่วมด้วย
- ไมเกรนชนิดก้านสมองขาดเลือด (basilar migraine) พบบ่อยในหญิงวัยรุ่น เกิดจากก้านสมอง (brain stem) ขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วขณะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดไมเกรน ร่วมกับอาการบ้านหมุน พูดลำบาก เห็นภาพซ้อน สับสน เป็นลม หมดสติ แขนขาอ่อนแรงทั้ง 4 ข้าง ซึ่งจะเป็นนานประมาณ 20-30 นาที บางรายอาจนานหลายวัน
2. มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 อย่าง
- ปวดข้างเดียว
- ปวดแบบตุบ ๆ
- ปวดรุนแรงปานกลางถึงมาก (เป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน)
- ปวดมากขึ้นเมื่อเดินขึ้นบันไดหรือเคลื่อนไหวร่างกาย
- คลื่นไส้ อาเจียน หรือทั้ง 2 อย่าง
- กลัวแสง กลัวเสียง หรือทั้ง 2 อย่าง
- อาการผิดปกติทางสายตา เช่น เห็นแสงวอบแวบ เห็นเป็นเส้นหยัก ภาพเบี้ยว ภาพเล็กหรือใหญ่เกินจริง เห็นดวงมืดในลานสายตา
- ความรู้สึกสัมผัสผิดปกติ เช่น รู้สึกเสียวแปลบเหมือนถูกเข็มตำ หรือมีตัวอะไรไต่ ชาที่ใบหน้าหรือแขนขา
- มีอาการพูดไม่ได้หรือพูดลำบาก
และแนะนำผู้ป่วยปฏิบัติตัวในการดูแลรักษาตัวเองและการป้องกันไม่ให้กำเริบบ่อย ข้อสำคัญคือ การให้ยาบรรเทาอาการ ต้องรีบกระทำทันทีเมื่อเริ่มรู้สึกมีอาการกำเริบจึงจะได้ผลดี
ถ้ามีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้หรืออาเจียน หรืออาการคล้ายเมารถเมาเรือ (ในรายที่เป็นไมเกรนชนิดเวียนศีรษะ) ให้ยาแก้เวียนศีรษะ เมารถเมาเรือ เช่น ไดเมนไฮดริเนต
2. ในรายมีอาการปวดมาก หรือที่กินยาบรรเทาปวดแล้วไม่ทุเลา แพทย์จะให้ยารักษาไมเกรนกลุ่มทริปแทน (triptan) เช่น ซูมาทริปแทน (sumatriptan)* ซึ่งอาจให้ร่วมกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
ถ้ามีอาการคลื่นไส้มากจนกินยาไม่ได้ แพทย์จะให้ยาชนิดฉีด เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไดโคลฟีแนก, ยาไดไฮโดรเออร์โกตามีน (dihydroergotamine), ยาแก้อาเจียน เช่น เมโทโคลพราไมด์ เป็นต้น
- ห้ามใช้นับรวมกันเกิน 10 วันต่อเดือน เพราะอาจทำให้เกิด "ภาวะปวดศีรษะจากการใช้ยาเกิน (medication overuse headache)"
สำหรับซูมาทริปแทน ให้กินขนาด 50-100 มก. ครั้งเดียว ถ้าไม่ทุเลาอาจกินซ้ำได้อีกครั้งใน 2 ชั่วโมงต่อมา (ไม่ควรเกิน 200 มก./24 ชั่วโมง)
- กินยาแก้ปวด-พาราเซตามอล* หรือยาที่แพทย์แนะนำ ทันทีที่มีอาการ
- หยุดงานหรือกิจกรรมที่ทำ หยุดการเคลื่อนไหวไปมา หาทางนอนหรือนั่งแบบผ่อนคลายอารมณ์ (อาจตามลมหายใจเข้าออก) ในห้องที่เงียบ มีแสงสลัว และอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อบอ้าว จนกว่าอาการปวดจะทุเลา
- สังเกตว่ามีสาเหตุอะไรที่กระตุ้นให้อาการกำเริบ แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเสีย (โดยจดบันทึกเรื่องราวการกำเริบของโรคนี้ที่เกิดขึ้นทุกครั้งว่า ก่อนมีอาการกำเริบมีการดำเนินชีวิตอย่างไร ทำอะไร สัมผัสอะไร นอนหลับพักผ่อนดีหรือไม่ ร่างกายและจิตใจมีความเครียดหรือไม่)
ควรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ปวดรุนแรง ปวดจนนอนไม่หลับ เวียนศีรษะมาก หรืออาเจียนมาก
- มีอาการปวดตารุนแรง
- ตรวจพบความดันโลหิตสูง
- ปวดนานเกิน 72 ชั่วโมง
- คลำได้เส้นปูดที่ขมับ (ข้างที่ปวด) เป็นลำแข็งกดเจ็บ
- ตามืดมัวหรือเห็นภาพซ้อนต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ
- แขนขาชาหรืออ่อนแรง เดินเซ หรือชักกระตุก
- เป็นการปวดครั้งแรกในคนอายุมากกว่า 40 ปี
- เป็นๆ หาย ๆ บ่อย หรือมีอาการกำเริบแรงหรือถี่ขึ้นกว่าเดิม
- หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
- มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง
*เพื่อความปลอดภัย ควรขอคำแนะนำวิธีและขนาดยาที่ใช้ ผลข้างเคียงของยา และข้อควรระวังในการใช้ยา จากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก สตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวหรือมีการใช้ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งใช้อยู่เป็นประจำ
- ถ้ากินยาเม็ดคุมกำเนิดทำให้ปวดบ่อย ก็เลิกยานี้เสีย และหันไปใช้ยาคุมชนิดฉีดแทน (ยานี้มีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน มีส่วนช่วยป้องกันไมเกรน)
- ถ้ากินอาหารผิดเวลา กินอาหารจำพวกโปรตีนมาก อาหารใส่ผงชูรส หรือดื่มแอลกอฮอล์ แล้วปวดไมเกรน ก็ควรหลีกเลี่ยงเสีย
- ถ้าออกกลางแดด หรือเข้าไปในที่ที่มีแสงจ้า อากาศร้อน หรือเสียงอึกทึกจอแจ (เช่น ตลาดนัด) หรืออดนอน แล้วปวดไมเกรน ก็ควรหลีกเลี่ยงเสีย เป็นต้น
2. ถ้าไม่ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุกระตุ้น หรือทราบแต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และยังปวดอยู่บ่อย ๆ (มากกว่า 3 ครั้ง/เดือน) จนเสียการเสียงาน แพทย์จะให้ยากินป้องกันไม่ให้ปวด ซึ่งมีอยู่หลายขนาน โดยให้เลือกใช้ขนานใดขนานหนึ่ง เช่น อะมิทริปไทลีน, ไพโซติเฟน, ไซโพรเฮปตาดีน, โพรพราโนลอล, โซเดียมวาลโพรเอต (sodium valproate), โทพิราเมต (topiramate) เป็นต้น และให้กินเป็นประจำทุกวัน ควรให้ติดต่อกันนาน 4-6 เดือนจึงค่อยหยุดยา เมื่อกลับมามีอาการกำเริบบ่อย ๆ อีก ก็ให้กินยาป้องกันซ้ำอีก