
1. ให้ผู้ป่วยงดอาหารแข็ง อาหารรสจัด และอาหารที่มีกากใย (เช่น ผัก ผลไม้) ให้กินอาหารอ่อน หรืออาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าว น้ำหวานแทน
2. ให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้-พาราเซตามอล และให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่
3. ถ้ามีอาการถ่ายท้องหรืออาเจียนรุนแรง หรือมีภาวะขาดน้ำรุนแรง จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ และส่งอุจจาระตรวจหาเชื้อ
4. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้นในรายที่เป็นรุนแรง หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ (เช่น นอร์ฟล็อกซาซิน, โอฟล็อกซาซิน, ไซโพรฟล็อกซาซิน, โคไตรม็อกซาโซล, อีริโทรไมซิน หรือกลุ่มเซฟาโลสปอริน) ถ้าสงสัยเกิดจากเชื้ออีโคไล, ซัลโมเนลลา, วิบริโอพาราฮีโมไลติคัส, แคมไพโลแบกเตอร์เจจูไน, อหิวาต์ หรือบิดชิเกลลา
2. ควรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด หรืออุจจาระมีกลิ่นเหม็นจัด
- ถ่ายรุนแรง อาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง หรือดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ได้น้อย (สังเกตพบปัสสาวะออกน้อย และมีสีเข้มอยู่เรื่อย ๆ)
- มีภาวะขาดน้ำค่อนข้างรุนแรง สังเกตพบมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ลิ้นเป็นฝ้าหนา ตาโบ๋ ปัสสาวะออกน้อย
- มีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจหวิวใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว
- มีไข้เกิน 3-4 วัน หรือมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
- กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก หรือน้ำหนักลดฮวบ
- มีประวัติการแพ้ยา สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือมีโรคตับ โรคไต หรือประจำตัวอื่น ๆ ที่มีการใช้ยา หรือแพทย์นัดติดตามการรักษาอยู่เป็นประจำ
- มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาต์
- หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
- ดูแลตนเอง 24 ชั่วโมงแล้วไม่ทุเลา
- มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง
*เพื่อความปลอดภัย ควรขอคำแนะนำวิธีและขนาดยาที่ใช้ ผลข้างเคียงของยา และข้อควรระวังในการใช้ยา จากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก สตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว หรือมีการใช้ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งใช้อยู่เป็นประจำ
2. กินอาหารสุก ไม่มีแมลงวันตอม และดื่มน้ำสุกหรือน้ำสะอาด
3. หลีกเลี่ยงการกินน้ำแข็งที่ไม่สะอาด ซอส น้ำจิ้มที่ทำทิ้งไว้นาน
4. ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ก่อนเตรียมอาหาร ก่อนเปิบข้าว และหลังถ่ายอุจจาระหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กทุกครั้ง
5. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่มิดชิด
6. ผู้ที่มีบาดแผลที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำในทะเล เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อวิบริโอพาราฮีโมไลติคัส
2. โรคนี้ส่วนใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรง มักจะหายได้เองใน 24-72 ชั่วโมง การรักษาที่สำคัญ คือ การดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทดแทนให้มากพอกับน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการถ่ายท้อง
ส่วนน้อยที่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง เป็นนานหลายวัน มีไข้ หรือถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดร่วมด้วย