ผมร่วง ผมบาง (Alopecia/Baldness) ข้อมูลโรค พร้อมโปรแกรมตรวจอาการเบื้องต้น
ผมร่วง ผมบาง (Alopecia/Baldness) อาการ สาเหตุ การป้องกันและรักษา พร้อมโปรแกรม “หมอประจำบ้าน” อัจฉริยะ Doctor at Home ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตัวเอง
อาการผมร่วงลักษณะนี้ ไม่ต้องให้ยารักษาแต่อย่างใด เพราะไม่ใช่เรื่องผิดปกติ และไม่ทำให้ผมบางหรือศีรษะล้าน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 1 เดือน หรือสงสัยจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ซิฟิลิส เอสแอลอี หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ หรือมีความวิตกกังล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
ไม่มียาที่ใช้รักษาอย่างได้ผล ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการผ่าตัดปลูกผม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
ผมร่วงชนิดนี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อย พบได้ทั้งสองเพศ แต่จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
เกิดจากกรรมพันธุ์ คือ จะมีพ่อแม่พี่น้องที่มีอาการผมบาง (ศีรษะเถิก หรือศีรษะล้าน) เช่นเดียวกัน ทำให้รากผมบริเวณที่ร่วงมีความไวต่อฮอร์โมนเพศชาย (androgen) ที่เรียกว่า ไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (dihydrotestosterone) ทำให้เส้นผมมีอายุสั้นกว่าปกติ จึงร่วงเร็วกว่าบริเวณที่ปกติ (โดยที่จำนวนเส้นผมที่ร่วงในแต่ละวันไม่ได้มากกว่าปกติ) แล้วเส้นผมที่เกิดขึ้นใหม่จะมีขนาดเล็กบางและสั้นลงจนเป็นเส้นขนอ่อน ๆ ทำให้บริเวณนั้นดูว่าผมบางหรือไม่มีผม โดยมักจะเป็นตรงบริเวณหน้าผากและตรงกลางศีรษะ ส่วนด้านข้างและด้านหลังมักจะปกติ
มักเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในผู้ชายถ้าเป็นไม่มาก ผมจะบางเฉพาะบริเวณหน้าผาก กลายเป็นศีรษะเถิก มีรูปร่างเหมือนตัวอักษร M ถ้าเป็นมากจะทำให้ศีรษะล้าน แบบที่เรียกว่า ทุ่งหมาหลง หรือดงช้างข้าม
ส่วนในผู้หญิงมักจะเริ่มแสดงอาการหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มักจะร่วงทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะตรงบริเวณกลางกระหม่อม ทำให้แลดูผมบางลง
อาการจะเป็นมากน้อยขึ้นกับกรรมพันธุ์ที่ได้รับมา และอายุยิ่งมากก็ยิ่งเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
บางรายอาจเกิดร่วมกับการมีรังแคมาก ทำให้มีอาการคัน และมีขี้รังแคมาก
อาจทำให้รู้สึกมีปมด้อยหรือขาดความมั่นใจในตัวเอง
แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติ (มีคนในครอบครัวเป็นผมร่วงกรรมพันธุ์) การตรวจดูลักษณะอาการของผมร่วง และจากการตรวจแยกแยะจากสาเหตุอื่น
ในรายที่เริ่มมีอาการศีรษะล้าน แพทย์อาจให้การรักษาโดยการให้กินยากลุ่มยับยั้งแอลฟารีดักเทส (alpha reductase inhibitor) ซึ่งมีฤทธิ์ลดฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน ได้แก่ ไฟนาสเตอไรด์ (finasteride) ซึ่งจะเห็นผลหลังใช้ยาได้ 6 เดือน และได้ผลเต็มที่หลังใช้ยาประมาณ 2 ปี ผู้ป่วยควรใช้ยาต่อไปทุกวัน หากหยุดยาผมก็จะกลับมาร่วงได้อีก ยานี้ใช้ได้ผลเฉพาะผู้ชาย ไม่ใช้ในผู้หญิงเพราะนอกจากไม่ได้ผลแล้ว หากใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ยังอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการสร้างอวัยวะเพศชายของทารกในครรภ์ได้
ยานี้ควรใช้ตั้งแต่แรกที่ผมเริ่มบาง ถ้าศีรษะล้านเต็มที่แล้วใช้ไม่ได้ผล ผลข้างเคียงที่อาจพบก็คือ ภาวะองคชาตไม่แข็งตัว (erectile dysfuction) ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 1
ในบางรายอาจใช้ยาน้ำไมน็อกซิดิล (minoxidil) ชนิด 2% หรือ 5% ทาทุกวัน ถ้าได้ผลผมจะเริ่มงอก 4-6 เดือนหลังทายา และได้ผลสูงสุดหลังทายา 12 เดือน ควรทาติดต่อทุกวันไปตลอด ยานี้เป็นยาที่ใช้ลดความดันโลหิต พบว่ามีผลทำให้ขนดกขึ้น สันนิษฐานว่าเป็นเพราะฤทธิ์การขยายหลอดเลือดของยานี้
ถ้าใช้ยารักษาไม่ได้ผล อาจแนะนำให้ใส่ผมปลอม (วิก) ทอผม หรือผ่าตัดปลูกถ่ายผม
ผมร่วงกรรมพันธุ์ ถือเป็นธรรมชาติของคน ๆ นั้น เนื่องจากกรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนด หากจะลองใช้วิธีรักษานอกเหนือจากที่แพทย์แนะนำ ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจว่าเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลจริง และไม่สิ้นเปลืองเกินจำเป็น
ถ้ารู้สึกน่าเกลียดหรือมีปมด้อย แนะนำให้ใส่ผมปลอม (วิก) ทอผม หรือผ่าตัดปลูกถ่ายผม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
ผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งอาจมีอาการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ อาการผมร่วงพบในระยะที่ 2 ของโรค (ดู "โรคซิฟิลิส" เพิ่มเติม)
เกิดจากการติดเชื้อซิฟิลิสซึ่งติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่
อาการผมร่วง อาจเป็นอาการแสดงออกของผู้ป่วยซิฟิลิสในระยะที่ 2 ผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นไข้หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามตัว หรือมีผื่นขึ้นทั่วตัวร่วมด้วย ส่วนอาการผมร่วง อาจร่วงเป็นกระจุก ๆ เวลาหวีผม และจำนวนที่ร่วงในแต่ละวันมากกว่าปกติ (ปกติไม่ควรร่วงเกินวันละ 100 เส้น) ลักษณะของหนังศีรษะบริเวณที่มีผมร่วง อาจดูคล้ายถูกแมลงแทะเป็นหย่อม ๆ แต่บางรายอาจมีผมร่วงทั่วศีรษะก็ได้ มักจะพบมีเส้นผมตกตามหมอนและที่นอน และถ้าใช้มือดึงเส้นผมเบา ๆ ก็จะมีเส้นผมหลุดติดมือมาง่ายกว่าปกติ
ผู้ป่วยมักมีประวัติเที่ยวผู้หญิง หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้มาก่อน และก่อนหน้าที่จะมีอาการผมร่วงเพียงไม่กี่เดือนหรือไม่กี่สัปดาห์ อาจมีแผลขึ้นที่อวัยวะเพศ (ซิฟิลิสระยะแรก) แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
หากไม่รักษาก็จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคซิฟิลิสตามมา
แพทย์จะทำการตรวจเลือดหาวีดีอาร์แอล (VDRL)
แพทย์จะให้การรักษาแบบซิฟิลิสระยะที่ 2 โดยให้ยาปฏิชีวนะ (ดู "โรคซิฟิลิส" เพิ่มเติม)
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องมักทำให้กลายเป็นซิฟิลิสระยะที่ 3 ซึ่งเป็นอันตรายได้
หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเป็นซิฟิลิส ควรรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ปฏิบัติเช่นเดียวกับการป้องกันโรคซิฟิลิส (อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ "การป้องกัน" ในโรคซิฟิลิส)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
สาเหตุที่ทำให้ผมหยุดการเจริญชั่วคราวที่พบได้บ่อย เช่น
- ผู้หญิงหลังคลอด ผมมักร่วงหลังคลอดประมาณ 3 เดือน (ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นเพราะลูกจำหน้าแม่ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง) เนื่องจากขณะคลอดเส้นผมบางส่วนเกิดหยุดการเจริญในทันที ต่อมาอีก 2-3 เดือน ผมเหล่านี้ก็จะร่วง
- ทารกแรกเกิดอาจมีอาการผมร่วงในระยะ 1-2 เดือนแรก แล้วจะค่อย ๆ มีผมงอกขึ้นใหม่
- เป็นไข้สูง เช่น ไข้รากสาดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ เป็นต้น จะมีอาการผมร่วง (หัวโกร๋น) หลังเป็นไข้ ประมาณ 2-3 เดือน
- ได้รับการผ่าตัดใหญ่
- เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น วัณโรค เบาหวาน โลหิตจาง ขาดอาหาร เป็นต้น
- การเสียเลือด การบริจาคเลือด
- การใช้ยา เช่น ยาคุมกำเนิด อัลโลพูรินอล โพรพิลไทโอยูราซิล เฮพาริน เป็นต้น
- ภาวะเครียดทางจิตใจ เช่น ตกใจ เสียใจ เศร้าใจ
ผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงมากผิดปกติ (มากกว่าวันละ 100 เส้น) ลักษณะร่วงทั่วศีรษะ ซึ่งมักจะมีอาการตามหลังสาเหตุเหล่านี้ประมาณ 2-3 เดือน และอาจจะเป็นอยู่นาน 2-6 เดือน ก็จะหายได้เองอย่างสมบูรณ์
ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง ถ้าเกิดจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง (เช่น วัณโรค เบาหวาน โลหิตจาง ขาดอาหาร) ก็จะมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้
แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจหาสาเหตุ ซึ่งอาจจำเป็นต้องทำการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ เป็นต้น
ถ้ามีสาเหตุชัดเจน (เช่น หลังคลอด หลังผ่าตัด จิตใจเครียด) ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างใด ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และรอให้ผมงอกขึ้นใหม่
ถ้าไม่แน่ใจ แพทย์จะทำการตรวจสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
หากมีอาการผมร่วงมากกว่าปกติ หรือสงสัยอาจเกิดจากโรคบางอย่าง ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเกิดจากการเจ็บป่วย ก็ควรรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ขึ้นกับสาเหตุ ถ้าเกิดจากความเครียดทางจิตใจ หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง (เช่น วัณโรค เบาหวาน โลหิตจาง ขาดอาหาร) ก็จะหาทางป้องกันสาเหตุเหล่านี้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น เอสแอลอี ภาวะขาดไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น ก็อาจมีอาการผมร่วง ผมบาง ร่วมกับอาการของโรคเหล่านี้ เช่น เป็นไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น
เกิดจากโรคที่ทำให้มีอาการผมร่วง ผมบาง เช่น เอสแอลอี ภาวะขาดไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
มีอาการผมร่วง ผมบาง ร่วมกับอาการของโรคเหล่านี้ เช่น
- เอสแอลอี จะเป็นไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า
- ภาวะขาดไทรอยด์ จะมีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยเนือย บวมฉุ
- ต่อมน้ำเหลืองโต จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต
เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคที่เป็นสาเหตุ
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและการตรวจพบลักษณะของโรคที่เป็นสาเหตุ รวมทั้งการตรวจพิเศษ เช่น การตรวจเลือด เอกซเรย์ เป็นต้น
แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
หากมีอาการผมร่วงและมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น เป็นไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า ต่อมน้ำเหลืองโต บวมฉุ เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ และดูแลรักษาตามคำแนะนำของแพทย์
เนื่องจากอาการผมร่วงเป็นอาการของโรคต่าง ๆ การป้องกันจึงต้องหาทางป้องกันไม่ให้เป็นโรคเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่ทำได้ยาก
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
สันนิษฐานว่าเกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง (ออโตอิมมูน) คือ ร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานต่อรูขุมขน (hair follicles) ที่หนังศีรษะทำให้ผมหยุดงอก โดยที่ไม่ทราบชัดว่ามีสาเหตุอะไรที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาดังกล่าว สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม ความเครียดทางจิตใจ
บางรายอาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิต้านตนเอง โรคแอดดิสัน โรคด่างขาว โรคภูมิแพ้ (เช่น ลมพิษ ผื่นคัน หวัดจากการแพ้ หืด) เป็นต้น
ผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงเฉพาะที่ ทำให้ผมแหว่งหายไปเป็นหย่อม ๆ มีลักษณะกลมหรือรี ขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มีเส้นผม แต่จะเห็นรูขน หนังศีรษะในบริเวณนั้นเป็นปกติทุกอย่าง ไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่เป็นเกล็ด หรือเป็นขุย ในระยะแรกจะพบเส้นผมหักโคนเรียงอยู่บริเวณขอบ ๆ บางรายอาจพบเส้นผมสีขาวขึ้นในบริเวณนั้น
ผู้ป่วยอาจมีผมร่วงเพียง 1-2 หย่อม จนถึงมากกว่า 10 หย่อม
ถ้าเป็นมาก อาจลุกลามจนทั่วศีรษะ จนไม่มีเส้นผมเหลืออยู่แล้วแม้แต่เส้นเดียว บางรายอาจมีอาการขนตาและขนคิ้วร่วงร่วมด้วย เรียกว่า ผมร่วงทั่วศีรษะ (alopecia totalis)
ผู้ป่วยส่วนมากจะหายได้เองตามธรรมชาติ แต่อาจกินเวลาเป็นปีกว่าจะหาย (ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยหายภายใน 1 ปี ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีผมขึ้นภายใน 5 ปี) บางรายเมื่อหายแล้วอาจกำเริบได้ใหม่ เป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้ง ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยจะกำเริบซ้ำอีกภายใน 5 ปี หรือไม่อาจมีคนอื่น ๆ ในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย (โดยที่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อแต่อย่างใด)
ในรายที่พบร่วมกับโรคอื่น ๆ (เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิต้านตนเอง โรคแอดดิสัน โรคด่างขาว โรคภูมิแพ้ เป็นต้น) ก็จะมีอาการของโรคเหล่านี้ร่วมด้วย
ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ยกเว้นในรายที่มีโรคอื่นร่วมด้วย (เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิต้านตนเอง โรคแอดดิสัน โรคด่างขาว โรคภูมิแพ้ เป็นต้น) ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้ตามมาได้
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ สิ่งตรวจพบ และการตรวจพิเศษ เช่น การตรวจเลือด การขูดหรือตัดชิ้นเนื้อของหนังศีรษะไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
ถ้าเป็นโรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ ก็ให้ใช้ครีมสเตียรอยด์ เช่น ครีมไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์ หรือครีมบีตาเมทาโซนชนิด 0.1% หรือทาด้วยขี้ผึ้งแอนทราลิน (anthralin) ชนิด 0.5% วันละครั้ง ถ้าไม่ได้ผลใน 1 เดือน ก็อาจฉีดยาสเตียรอยด์ (เช่น ไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์) เข้าใต้หนังในบริเวณที่เป็นทุก 2 สัปดาห์
ในรายที่เป็นรุนแรง (ผมร่วงทั้งศีรษะ) อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลนชนิดกิน
ยาเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ผมงอกเร็วขึ้น
หากมีอาการผมร่วงเป็นหย่อม ควรปรึกษาแพทย์ และดูแลรักษาตามคำแนะนำของแพทย์
หากต้องการใช้วิธีรักษานอกเหนือจากที่แพทย์แนะนำ ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจว่าเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลจริง และไม่สิ้นเปลืองเกินจำเป็น
หากมีอาการผมร่วงมาก หรือรู้สึกแลดูน่าเกลียด ให้ใส่ผมปลอม (วิก) จนกว่าจะหายดี
ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ
1. โรคนี้อาจมีลักษณะคล้ายโรคเชื้อราที่ศีรษะ ซึ่งสามารถตรวจให้แน่ชัด โดยการขูดเอาขุย ๆ ที่หนังศีรษะไปตรวจ ถ้าเป็นโรคเชื้อรา ก็จะพบเชื้อราที่เป็นต้นเหตุ
2. โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ดังนั้นจึงไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะเกิดการแพร่โรคโดยการสัมผัสใกล้ชิด
3. โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายได้เองโดยธรรมชาติ แม้ว่าจะไม่ได้ให้การรักษา
การรักษาทางการแพทย์ด้วยการใช้สเตียรอยด์ทาหรือฉีด มีส่วนช่วยให้หายเร็วขึ้น
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
โรคเชื้อราที่ศีรษะ (กลากที่ศีรษะ) อาจพบได้บ่อยในเด็ก แต่จะไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งมักจะลุกลามจากบริเวณอื่นของร่างกาย
เกิดจากการติดเชื้อราพวกเดอร์มาโตไฟต์ ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรง หรือใช้ของใช้ (เช่น หวี มีดโกนผม) ร่วมกับผู้ที่เป็นโรคนี้
โรคนี้ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ คล้ายโรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ แต่จะมีลักษณะขึ้นเป็นผื่นแดง คัน และเป็นขุยหรือเกล็ด นอกจากนี้มักจะพบร่องรอยของโรคเชื้อรา (กลาก) ที่มือ เท้า ลำตัว หรือในบริเวณร่มผ้าร่วมด้วย
กลากที่ศีรษะ
อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เกิดเม็ดหนองขึ้นรอบ ๆ รูขุมขน และลุกลามเป็นก้อนนูนใหญ่ แล้วแตกออกมีน้ำเหลืองเกรอะกรัง เมื่อหายแล้วมักเป็นแผลเป็น
แพทย์จะทำการขูดเอาขุยที่หนังศีรษะ หรือเอาเส้นผมในบริเวณนั้นมาละลายด้วยน้ำยาโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบเชื้อราที่เป็นสาเหตุ
ให้กินยาฆ่าเชื้อรา เช่น กริซีโอฟุลวิน นาน 4-6 สัปดาห์ หรือไอทราโดนาโซล นาน 4 สัปดาห์
หากสงสัย เช่น ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ มีลักษณะขึ้นเป็นผื่นแดง คัน และเป็นขุยหรือเกล็ด ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคกลากที่ศีรษะ ควรดูแลรักษาตนเอง ดังนี้
- รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลาใน 1 สัปดาห์
- มีอาการลุกลาม หรือกลายเป็นตุ่มหนอง
- ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
- ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคกลาก
- หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ (เช่น หวี มีดโกนผม) ร่วมกับผู้ที่เป็นโรคนี้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
พบได้บ่อยในเด็กที่มีปัญหากดดันทางจิตใจด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน เป็นต้น เด็กบางคนอาจถอนผมเล่นจนเป็นนิสัย โดยไม่มีปัญหาทางจิตใจก็ได้ (เรียกอาการนี้ว่า “Trichotillomania”)
เกิดจากผู้ป่วยถอนผมตัวเองเล่น จนผมร่วงหรือผมแหว่ง
เด็กบางคนอาจถอนผมเฉพาะตอนก่อนนอน ซึ่งจะพบว่ามีเส้นผมตกอยู่ตามหมอนทุกวัน เส้นผมเหล่านี้จะไม่มีต่อมรากผม
หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วง จะไม่มีผื่นคัน หรือเป็นขุย และจะพบเส้นผมที่เป็นตอสั้น ๆ อยู่มาก เนื่องจากผู้ป่วยถอนออกไม่ถนัด
ผู้ที่มีนิสัยถอนผมเป็นประจำอาจเกิดความรู้สึกอาย มีปมด้อย แยกตัว ไม่เข้าสังคม หากมีปัญหากดดันทางจิตใจ อาจหันไปสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา
บางรายอาจนำผมที่ถอนมาเคี้ยวกินเล่น ถ้ากินมาก ๆ อาจทำให้เกิดการอุดกั้นของกระเพาะและลำไส้ได้
แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติและอาการที่ผู้ป่วยบอกเล่า และการตรวจพบหนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วง ไม่มีผื่นคัน หรือเป็นขุย และพบเส้นผมที่เป็นตอสั้น ๆ
หากไม่แน่ใจ แพทย์จะทำการขูดเอาขุยที่หนังศีรษะ หรือเอาเส้นผมในบริเวณนั้นไปตรวจหาเชื้อรา หรือทำการตรวจเลือดหรืออื่น ๆ ตามสาเหตุที่สงสัย
แพทย์จะอธิบายให้ผู้ปกครองทราบถึงสาเหตุ และหาทางห้ามปรามเด็กมิให้ถอนผมเล่น ถ้าหยุดถอน ผมก็จะขึ้นได้เอง
ในรายที่มีปัญหาทางจิตใจ อาจให้ยากล่อมประสาท (เช่น ไดอะซีแพม) และให้การรักษาด้วยวิธีทางจิตบำบัด
หากสงสัย ควรปรึกษาแพทย์ และดูแลรักษาตามคำแนะนำของแพทย์
ในเด็กที่มีปัญหาด้านจิตใจ ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อให้การรักษาทางจิตบำบัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมการถอนผมตัวเอง
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ
Smart Doctor© โปรแกรม "หมอประจำบ้าน" อัจฉริยะ
โปรดเลือกอาการที่เป็นสัญญาณของ "ผมร่วง ผมบาง (Alopecia/Baldness)" เพื่อตรวจอาการเบื้องต้น ก่อนไปพบแพทย์