*มักมีอาการปวดบิดในท้อง อาเจียน และท้องเดิน โบราณเรียกอาการเหล่านี้ว่า ป่วง หรือลมป่วง ซึ่งอาจหมายถึงอาหารเป็นพิษ หรือภาวะอื่นที่แสดงอาการคล้าย ๆ กัน
เกิดจากการบริโภคสารพิษ อาจเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อโรค หรือสารเคมี (เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู ยาฆ่าแมลง เป็นต้น) หรือพืชพิษ (เช่น เห็ดพิษ กลอย) สัตว์พิษ (เช่น ปลาปักเป้า แมงดาถ้วย ปลาทะเล หอยทะเล คางคก)
1. ให้ผู้ป่วยงดอาหารแข็ง อาหารรสจัด และอาหารที่มีกากใย (เช่น ผัก ผลไม้) ให้กินอาหารอ่อน หรืออาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าว น้ำหวานแทน
2. ให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้-พาราเซตามอล และให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่
3. ถ้ามีอาการถ่ายท้อง อาเจียนรุนแรง หรือมีภาวะขาดน้ำรุนแรง จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
4. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้นในรายที่เป็นรุนแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ หากตรวจพบว่าเกิดจากเชื้ออีโคไล, ซัลโมเนลลา, วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส, แคมไพโลแบกเตอร์ เจจูไน, อหิวาต์ หรือบิดชิเกลลา แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ เช่น นอร์ฟล็อกซาซิน, โอฟล็อกซาซิน, โคไตรม็อกซาโซล, อีริโทรไมซิน, กลุ่มเซฟาโลสปอริน เป็นต้น
5. ถ้ามีอาการทางระบบประสาท (เช่น กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต ชัก หมดสติ) หรือสงสัยเกิดจากยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว สารเคมี สัตว์หรือพืชพิษร้ายแรง แพทย์จะรับตัวไว้ในโรงพยาบาล มักจะต้องทำการล้างท้อง ตรวจหาสาเหตุ แก้ไขตามอาการ และให้ยาต้านพิษ
2. ควรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด หรืออุจจาระมีกลิ่นเหม็นจัด
- ถ่ายรุนแรง อาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง หรือดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ได้น้อย (สังเกตพบปัสสาวะออกน้อย และมีสีเข้มอยู่เรื่อย ๆ)
- มีภาวะขาดน้ำค่อนข้างรุนแรง สังเกตพบมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ลิ้นเป็นฝ้าหนา ตาโบ๋ ปัสสาวะออกน้อย
- มีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจหวิวใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว
- มีไข้เกิน 3-4 วัน หรือมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
- กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก หนังตาตก หรือพูดอ้อแอ้
- มีประวัติกินปลาปักเป้า แมงดาถ้วย คางคก เห็ด (ที่สงสัยว่าเป็นเห็ดพิษ) หรือสงสัยว่าเกิดจากการกินสารพิษ
- มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาต์
- ดูแลตนเอง 24 ชั่วโมงแล้วไม่ทุเลา
- หลังกินยามีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
- มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง
*เพื่อความปลอดภัย ควรขอคำแนะนำวิธีและขนาดยาที่ใช้ ผลข้างเคียงของยา และข้อควรระวังในการใช้ยา จากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก สตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว หรือมีการใช้ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งใช้อยู่เป็นประจำ
หลีกเลี่ยงการบริโภคสัตว์พิษ พืชพิษ อาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ไม่สด และอาหารที่ไม่สะอาด (เช่น มีแมลงวันตอม คนเตรียมอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ)
2. โรคนี้มีความรุนแรงมากน้อยขึ้นกับชนิดและปริมาณของพิษที่บริโภค นอกจากปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำแล้ว พิษบางอย่างอาจมีผลต่อตับ ไต หัวใจ หรือระบบประสาท หากมีอาการผิดสังเกต หรืออาเจียนหรือถ่ายท้องรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว