1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการอาเจียน มีเศษอาหาร เสมหะหรือเลือดออกมา อาจมีอาการคลื่นไส้นำมาก่อน
สาเหตุที่พบบ่อย : อาหารไม่ย่อย แผลเพ็ปติก อาหารเป็นพิษ อาเจียนจากการไอ แพ้ท้อง เมารถเมาเรือ ไมเกรน

  • 1.

    อาเจียนเป็นเลือด หรือเป็นสีกาแฟ?

  • 2.

    อาเจียนรุนแรง? (ดูหมายเหตุ)

    หมายเหตุ อาเจียนรุนแรง หมายถึง
    1. มีอาการอาเจียนเกิดขึ้นฉับพลัน และมีอาหารหรือน้ำพุ่งออกจากปาก
    หรือ 2. อาเจียนอย่างมากและนานกว่าปกติ หรืออาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง จนกินอาหาร/ดื่มน้ำไม่ได้ หรือมีภาวะขาดน้ำ (อ่อนเพลีย ตาโบ๋ ปากแห้ง)

  • 3.

    มีอาการปวดศีรษะทุกวันนานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ นำมาก่อนอาการอาเจียน?

  • 4.

    มีอาการปวดบิดเป็นพัก ๆ ตรงใต้ชายโครงขวาหรือใต้ลิ้นปี่? หรือ มีอาการปวดท้องหลังกินอาหารมัน ๆ หรืออาหารมื้อหนัก?

  • 5.

    มีอาการปวดแสบ/จุกแน่นตรงใต้ลิ้นปี่ก่อนหรือหลังอาหาร? หรือ แสบร้าวจากยอดอกขึ้นไปถึงคอหอย/เรอเปรี้ยวขึ้นคอหอย?

  • 6.

    พบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานแล้ว และประจำเดือนขาด? หรือ ตรวจปัสสาวะพบว่าตั้งครรภ์?

  • 7.

    หลังกินปลาปักเป้า/แมงดาถ้วย/คางคก/เห็ดป่า/อาหารที่บรรจุในภาชนะที่ปิดมิดชิด?

  • 8.

    หลังกินอาหารทะเล อาหารที่แมลงวันตอม หรืออาหารไม่สุก?

  • 9.

    ปวดท้องและท้องเดิน?

  • 10.

    มีอาการอาเจียนหลังจากมีอาการปวดตุบที่ขมับ นานเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ หลังอาเจียนอาการปวดศีรษะทุเลา?

  • 11.

    เป็นขณะขึ้นรถลงเรือ หรือนั่งเครื่องบิน หรือเครื่องเล่น?

  • 12.

    มีอาการบ้านหมุนร่วมกับอาเจียน?

  • 13.

    ดีซ่าน (ตาเหลือง)?

  • 14.

    อาเจียนเฉพาะเวลาไอ?

  • 15.

    เป็นหลังกินยาแอสไพริน ยาแก้ปวด ยาแก้ข้ออักเสบ หรือดื่มแอลกอฮอล์?

  • 16.

    เป็นหลังกินยา หรือฉีดยาบางชนิด?

  • 17.

    อาเจียนเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง?

  • 18.

    ปวดเสียดหรือจุกแน่นตรงใต้ลิ้นปี่? ร่วมกับ ถ่ายอุจจาระดำ หรือน้ำหนักลดฮวบ?

  • 19.

    เท้าบวม? ร่วมกับ ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

    1. มีประวัติเป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูงมานาน หรือมีประวัติกินยาแก้ปวดข้อหรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นประจำ?
    2. ตรวจพบความดันโลหิตสูง และสารไข่ขาวในปัสสาวะ?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ ภาวะไตวายเรื้อรัง
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ภาวะไตวาย
ภาวะไตวาย (ไตล้ม ไตไม่ทำงาน ก็เรียก) หมายถึงภาวะที่เนื้อไตทั้ง 2 ข้างถูกทำลายจนทำงานไม่ได้ หรือได้น้อยกว่าปกติ ทำให้น้ำและของเสียไม่ถูกขับออกมา จึงเกิดการคั่งจนเป็นพิษต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลกระทบต่อดุลของอิเล็กโทรไลต์ และความเป็นกรดด่างในเลือด รวมทั้งเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิดที่ไตสร้าง การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้นำไปสู่อาการผิดปกติของอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย
 
ภาวะไตวายสามารถแบ่งเป็น ไตวายเฉียบพลัน (มีอาการเกิดขึ้นฉับพลัน และเป็นอยู่นานเป็นวันและเป็นสัปดาห์) กับ ไตวายเรื้อรัง (ค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อยนานเป็นแรมเดือนแรมปี)
 
โรคนี้จัดเป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไตวายเรื้อรัง จะพบได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากขึ้น เนื่องจากจะมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ (เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต โรคติดเชื้อ เป็นต้น) ที่มีภาวะแทรกซ้อนต่อไต หรือมีการใช้ยาที่มีพิษต่อไตมากขึ้น