1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการแน่นิ่ง หมดความรู้สึกทุกอย่าง
สาเหตุที่พบบ่อย : น้ำตาลในเลือดต่ำ มาลาเรียขึ้นสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ศีรษะได้รับบาดเจ็บ หลอดเลือดสมองแตก กล้ามเนื้อหัวใจตาย กินยาพิษหรือยาฆ่าแมลง

  • 1.

    ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือ รูม่านตา 2 ข้างไม่เท่ากัน?

  • 2.

    กินยาพิษ ยาฆ่าแมลง สัตว์พิษ เห็ดพิษ หรือยานอนหลับ ดื่มแอลกอฮอล์จัด หรือ ใช้ยาเสพติดเกินขนาด?

  • 3.

    จมน้ำ?

  • 4.

    ไฟฟ้าช็อต?

  • 5.

    ก่อนหมดสติมีอาการปวดศีรษะ หรืออาเจียนรุนแรง หรือ ตรวจพบคอแข็ง?

    วิธีสังเกตอาการคอแข็ง: จับศีรษะผู้ป่วยให้ก้มลงข้างหน้า ผู้ป่วยจะก้มไม่ลง คอมีลักษณะแข็งทื่อ (คอปกติจะก้มให้คางชิดหน้าอกได้)

  • 6.

    รูม่านตาหดเล็กทั้ง 2 ข้าง และ ความดันโลหิตสูง?

  • 7.

    อดข้าวนาน หรือ ผู้ป่วยกินยา หรือฉีดยารักษาเบาหวาน?

  • 8.

    ดีซ่าน (มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองเหมือนขมิ้น อาจมีอาการคันตามตัว) มีจุดแดงรูปแมงมุม หรือ มีประวัติเป็นโรคตับแข็ง?

    วิธีสังเกตอาการจุดแดงรูปแมงมุม: พบจุดแดงของหลอดเลือดที่พองตัว ขนาด 2-5 มม. ตรงกลางสีแดงเข้ม และมีหลอดเลือดฝอยแตกออกโดยรอบคล้ายขาแมงมุม เวลาดึงรั้งผิวหนังให้ตึงจะจางหาย

  • 9.

    เท้าบวม? ร่วมกับ ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

    1. มีประวัติเป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูงมานาน หรือมีประวัติกินยาแก้ปวดข้อหรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นประจำ?
    2. ตรวจพบความดันโลหิตสูง และสารไข่ขาวในปัสสาวะ?

 ควรไปพบแพทย์ด่วน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ ภาวะไตวาย หรือโรคอื่น ๆ
ปฐมพยาบาล 
  • ถ้าหยุดหายใจทำการกู้ชีพ
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ภาวะไตวาย
ภาวะไตวาย (ไตล้ม ไตไม่ทำงาน ก็เรียก) หมายถึงภาวะที่เนื้อไตทั้ง 2 ข้างถูกทำลายจนทำงานไม่ได้ หรือได้น้อยกว่าปกติ ทำให้น้ำและของเสียไม่ถูกขับออกมา จึงเกิดการคั่งจนเป็นพิษต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลกระทบต่อดุลของอิเล็กโทรไลต์ และความเป็นกรดด่างในเลือด รวมทั้งเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิดที่ไตสร้าง การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้นำไปสู่อาการผิดปกติของอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย
 
ภาวะไตวายสามารถแบ่งเป็น ไตวายเฉียบพลัน (มีอาการเกิดขึ้นฉับพลัน และเป็นอยู่นานเป็นวันและเป็นสัปดาห์) กับ ไตวายเรื้อรัง (ค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อยนานเป็นแรมเดือนแรมปี)
 
โรคนี้จัดเป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไตวายเรื้อรัง จะพบได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากขึ้น เนื่องจากจะมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ (เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต โรคติดเชื้อ เป็นต้น) ที่มีภาวะแทรกซ้อนต่อไต หรือมีการใช้ยาที่มีพิษต่อไตมากขึ้น