1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการเท้าบวมทั้ง 2 ข้าง ใช้นิ้วกดจะมีรอยบุ๋มอยู่นานกว่าจะหาย บางรายอาจมีอาการหน้าบวม หนังตาบวม และท้องบวม (ท้องมาน) ร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจรู้สึกตึงตามปลายมือปลายเท้า แหวนคับ น้ำหนักขึ้น
สาเหตุที่พบบ่อย :  การยืนหรือห้อยเท้านาน ๆ หญิงตั้งครรภ์ บวมจากยา ตับแข็ง โรคไตเนโฟรติก หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน ไตวายเรื้อรัง
ขาหรือเท้าบวมข้างเดียว : ดู อาการบวมเฉพาะที่/มีก้อน ขาบวมข้างเดียว

  • 1.

    หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้?

    วิธีสังเกตอาการ ตรวจดูอาการนอนราบไม่ได้: ให้ผู้ป่วยนอนหมอนใบเดียวดูว่ามีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบากหรือไม่ ถ้ามีลองให้ลุกนั่ง หรือพิงหมอนหลาย ๆ ใบว่าอาการดีขึ้นหรือไม่

  • 2.

    หน้าบวม หรือ หนังตาบวม?

  • 3.

    ดีซ่าน (ตาเหลือง ตัวเหลือง) หรือ ท้องบวม?

  • 4.

    อ่อนล้า ผอมแห้ง? หรือ คลำได้ก้อนที่ใต้ชายโครงขวา/ในช่องท้อง?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ มะเร็งตับ, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งลำไส้เล็ก หรือโรคอื่น ๆ
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
มะเร็งตับ
มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งที่เกิดกับผู้ชายไทย และพบมากเป็นอันดับที่ 2-3 ของโรคมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิงไทย มักเกิดในคนอายุ 30-70 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2-3 เท่า

ในบ้านเรา แบ่งมะเร็งตับออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. มะเร็งเซลล์ตับ (hepatoma/hepatocellular carcinoma/HCC) หมายถึง มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่อยู่ในเนื้อตับ พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ มักพบในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี (ทั้งที่เป็นพาหะและผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง) ผู้ป่วยตับแข็ง ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด และผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเซลล์ตับ

2. มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma/CCC) หมายถึง มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่บุภายในท่อน้ำดีส่วนที่อยู่ภายในตับ (biliary tree) พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบมากที่สุดทางภาคอีสาน* เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้มักพบร่วมกับโรคพยาธิใบไม้ตับ
 
*ประชาชนในภาคอีสานจะคุ้นเคยกับโรคนี้ อันเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นอย่างดี และเนื่องจากผู้ป่วยมีอาการตับโตเป็นสำคัญ จึงนิยมเรียกว่า โรคตับโต
มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยนัก พบได้ประมาณร้อยละ 1 ของมะเร็งทางเดินอาหาร พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า มักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบได้มากยิ่งขึ้นในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป


มะเร็งลำไส้เล็ก

มะเร็งลำไส้เล็ก พบได้ค่อนข้างน้อย พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย พบมากขึ้นตามอายุ อายุเฉลี่ยที่พบประมาณ 60 ปี