เป็นลมแดด
เป็นลมแดด ขั้นตอนที่ถูกต้องในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อุปกรณ์ที่ต้องใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย พร้อมเบอร์ฉุกเฉินเรียกรถพยาบาล
เป็นลมแดด
เมื่อพบผู้ป่วย เป็นลม ควรให้การปฐมพยาบาล ดังนี้
เมื่อพบผู้ป่วยมีไข้สูง ร่วมกับอาการทางสมอง และมีประวัติถูกคลื่นความร้อน ออกกำลัง หรือใช้แรงกายในที่ร้อน ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลด่วน
ก่อนนำส่งโรงพยาบาล ควรให้การปฐมพยาบาลดังนี้
- พาผู้ป่วยหลบเข้าที่ร่ม ในรถปรับอากาศ ห้องที่มีความเย็น หรือห้องแอร์
- ถอดเสื้อผ้าให้เหลือเท่าที่จำเป็น
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว ใช้พัดลมเป่า วางถุงใส่น้ำแข็งไว้ตามซอกคอ รักแร้ และขาหนีบ
- ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ให้ดื่มน้ำเย็น เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย
- ถ้าผู้ป่วยหมดสติ จับศีรษะหันให้หน้าเอียงหน้าไปทางข้างใดข้างหนึ่ง (เพื่อป้องกันการสำลัก) และให้การปฐมพยาบาลอาการหมดสติเพิ่มเติม ดังนี้
- ใช้นิ้วล้วงเอาอาเจียน เสมหะ ฟันปลอม สิ่งแปลกปลอมออกจากปากของผู้ป่วย
- ห้ามให้ผู้ป่วยกินหรือดื่มอะไรทางปาก
- ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการกู้ชีวิต (ดูหัวข้อ "CPR")
- ถ้ามีอาการชักร่วมด้วย ให้การปฐมพยาบาลอาการชักเพิ่มเติม ดังนี้
- ป้องกันอันตรายหรือการบาดเจ็บ โดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในพื้นที่โล่งและปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวางหรือระเกะระกะอยู่ข้างกาย
- ถ้ามีเศษอาหาร เสมหะ หรือฟันปลอม ให้นำออกจากปาก ถ้าผู้ป่วยใส่แว่นตาควรถอดออก
- อย่าใช้วัตถุ (เช่น ไม้ ด้ามช้อน ปากกา ดินสอ) สอดใส่ปากผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้กัดลิ้น เพราะนอกจากไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควรแล้ว ยังอาจทำให้ปากและฟันได้รับบาดเจ็บได้
- อย่าผูกหรือมัดตัวผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บได้
- อย่าให้ผู้ป่วยกินอะไรระหว่างชัก หรือหลังชักใหม่ ๆ อาจทำให้ผู้ป่วยสำลักได้
- นำส่งโรงพยาบาลโดยรถปรับอากาศ หรือเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
นอกจากข้อมูลข้างต้นโดย รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ แล้วยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบวิดีโอที่จัดทำโดย RAMA Channel ซึ่งผู้อ่านสามารถคลิกเข้าไปดูได้ตามลิงก์ด้านล่าง ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก RAMA Channel