สาเหตุที่ทำให้ผมหยุดการเจริญชั่วคราวที่พบได้บ่อย เช่น
- ผู้หญิงหลังคลอด ผมมักร่วงหลังคลอดประมาณ 3 เดือน (ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นเพราะลูกจำหน้าแม่ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง) เนื่องจากขณะคลอดเส้นผมบางส่วนเกิดหยุดการเจริญในทันที ต่อมาอีก 2-3 เดือน ผมเหล่านี้ก็จะร่วง
- ทารกแรกเกิดอาจมีอาการผมร่วงในระยะ 1-2 เดือนแรก แล้วจะค่อย ๆ มีผมงอกขึ้นใหม่
- เป็นไข้สูง เช่น ไข้รากสาดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ เป็นต้น จะมีอาการผมร่วง (หัวโกร๋น) หลังเป็นไข้ ประมาณ 2-3 เดือน
- ได้รับการผ่าตัดใหญ่
- เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น วัณโรค เบาหวาน โลหิตจาง ขาดอาหาร เป็นต้น
- การเสียเลือด การบริจาคเลือด
- การใช้ยา เช่น ยาคุมกำเนิด อัลโลพูรินอล โพรพิลไทโอยูราซิล เฮพาริน เป็นต้น
- ภาวะเครียดทางจิตใจ เช่น ตกใจ เสียใจ เศร้าใจ
ผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงมากผิดปกติ (มากกว่าวันละ 100 เส้น) ลักษณะร่วงทั่วศีรษะ ซึ่งมักจะมีอาการตามหลังสาเหตุเหล่านี้ประมาณ 2-3 เดือน และอาจจะเป็นอยู่นาน 2-6 เดือน ก็จะหายได้เองอย่างสมบูรณ์
ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง ถ้าเกิดจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง (เช่น วัณโรค เบาหวาน โลหิตจาง ขาดอาหาร) ก็จะมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้
แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจหาสาเหตุ ซึ่งอาจจำเป็นต้องทำการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ เป็นต้น
ถ้ามีสาเหตุชัดเจน (เช่น หลังคลอด หลังผ่าตัด จิตใจเครียด) ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างใด ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และรอให้ผมงอกขึ้นใหม่
ถ้าไม่แน่ใจ แพทย์จะทำการตรวจสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
หากมีอาการผมร่วงมากกว่าปกติ หรือสงสัยอาจเกิดจากโรคบางอย่าง ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเกิดจากการเจ็บป่วย ก็ควรรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ขึ้นกับสาเหตุ ถ้าเกิดจากความเครียดทางจิตใจ หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง (เช่น วัณโรค เบาหวาน โลหิตจาง ขาดอาหาร) ก็จะหาทางป้องกันสาเหตุเหล่านี้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผมร่วง ผมบาง จากสาเหตุอื่น ๆ