2. ให้การรักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้ให้ยาลดไข้ ถ้าอ่อนเพลียหรือมีภาวะขาดน้ำเล็กน้อยให้ดื่มน้ำเกลือผสมเอง หรือเตรียมจากผงน้ำตาลเกลือแร่ขององค์การเภสัชกรรม
ส่วนยาแก้ท้องเดินไม่จำเป็นต้องให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มยาลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ เพราะอาจทำให้เชื้ออยู่ในลำไส้นานขึ้น ทำให้โรคหายช้าหรือลุกลามได้
3. ถ้ามีภาวะขาดน้ำรุนแรงหรือช็อก มีอาการปวดท้องรุนแรง กดเจ็บรุนแรง หรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง (เช่น โลหิตเป็นพิษ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น) จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล นอกจากให้การรักษาตามอาการ (เช่น ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือ) แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ และแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่พบ
ผลการรักษา ส่วนใหญ่หายเป็นปกติได้ใน 5-7 วัน ส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งหากรักษาได้ทันการณ์ก็จะหายเป็นปกติได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาล่าช้าไป ก็อาจได้รับอันตรายถึงเสียชีวิตได้
1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
2. กินยาปฏิชีวนะตามขนาดและครบระยะเวลาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
3. ติดตามการรักษากับแพทย์ตามนัด
4. ควรกลับไปพบแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
- มีไข้สูง หรือมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
- เบื่ออาหาร ดื่มน้ำได้น้อย อาเจียน หรือปวดท้องรุนแรง
- ซึม ปวดศีรษะรุนแรง เจ็บหน้าอกมาก หรือหายใจหอบ
- ตาเหลืองตัวเหลือง
- กินยาที่แพทย์แนะนำ 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น
- หลังกินยา มีผื่นคัน ตุ่มพุพอง ปากบวม ตาบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีความผิดปกติอื่น ๆ
- มีความวิตกกังวล
2. กินอาหารสุกและไม่มีแมลงวันตอม
3. ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ก่อนเตรียมอาหาร ก่อนเปิบข้าว และหลังถ่ายอุจจาระหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก
4. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ อย่าถ่ายลงคลอง หรือตามพื้นดิน
5. สำหรับชายรักร่วมเพศ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การใช้ปากสัมผัสกับทวารหนักหรือองคชาต
2. อาการไข้ ปวดท้อง ถ่ายเป็นน้ำ แล้วต่อมาถ่ายเป็นมูกเลือด อาจเกิดจากเชื้อวิบริโอพาราฮีโมไลติคัส ซึ่งพบในผู้ที่กินอาหารทะเล (เช่น หอยนางรม) แบบดิบ ๆ (ดู "โรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อโรค" เพิ่มเติม)