- ดื่มนมครั้งละน้อย (น้อยกว่า 200 มล.) หรือดื่มพร้อมอาหารมื้อหลัก หรือบริโภคโยเกิร์ต (ซึ่งผ่านการย่อยจากแบคทีเรียมาระดับหนึ่งแล้ว) ก็อาจไม่ทำให้เกิดอาการได้ หรือลดอาการให้น้อยลงได้
- ถ้าไม่ได้ผลให้ผู้ป่วยบริโภคถั่วเหลือง เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ในทารกอาจให้กินนมถั่วเหลือง
- ในรายที่จำเป็นต้องงดบริโภคนมโดยเด็ดขาด ควรบริโภคโปรตีน แคลเซียม และสารอาหารอื่น ๆ ที่มีอยู่ในนมจากแหล่งอาหารอื่น (เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ งา ถั่วต่าง ๆ เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย ปลากระป๋อง ผักใบเขียว) ถ้าจำเป็นอาจให้กินยาเม็ดแคลเซียมเสริมเพื่อการสร้างกระดูก (การเจริญเติบโตของร่างกายเด็ก) และป้องกันภาวะกระดูกพรุน (ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
- ในรายที่ต้องการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมต่อไป อาจต้องให้กินเอนไซม์แล็กเทส (ในรูปของยาเม็ด) ควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้
3. ในรายที่ให้การดูแลรักษาแล้วไม่ทุเลา หรือมีอาการเรื้อรัง และสงสัยว่าอาจเกิดจากสาเหตุอื่น แพทย์จะทำการชันสูตรเพิ่มเติมและให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
เมื่อตรวจพบว่าเป็นภาวะพร่องแล็กเทส ควรดูแลรักษา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้
- ดื่มนมครั้งละน้อย (น้อยกว่า 200 มล.) หรือดื่มพร้อมอาหารมื้อหลัก หรือบริโภคโยเกิร์ต (ซึ่งผ่านการย่อยจากแบคทีเรียมาระดับหนึ่งแล้ว) ก็อาจไม่ทำให้เกิดอาการได้ หรือลดอาการให้น้อยลงได้
- ถ้าไม่ได้ผลให้ผู้ป่วยบริโภคถั่วเหลือง เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ในทารกอาจให้กินนมถั่วเหลือง
- ในรายที่จำเป็นต้องงดบริโภคนมโดยเด็ดขาด ควรบริโภคโปรตีน แคลเซียม และสารอาหารอื่น ๆ ที่มีอยู่ในนมจากแหล่งอาหารอื่น (เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ งา ถั่วต่าง ๆ เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย ปลากระป๋อง ผักใบเขียว) ถ้าจำเป็นอาจให้กินยาเม็ดแคลเซียมเสริมเพื่อการสร้างกระดูก (การเจริญเติบโตของร่างกายเด็ก) และป้องกันภาวะกระดูกพรุน (ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
- ในรายที่ต้องการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมต่อไป อาจต้องให้กินเอนไซม์แล็กเทส (ในรูปของยาเม็ด) ควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้
ควรปรึกษาแพทย์ ถ้าลองปฏิบัติตัวดังกล่าวแล้วไม่ทุเลาใน 2-3 วัน หรือมีความวิตกกังวล
2. ภาวะพร่องแล็กเทสมักไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด ถ้าหากเกิดขึ้นหลังจาการติดเชื้อของลำไส้มักเป็นเพียงชั่วคราว และหายขาดได้ แต่ถ้าเป็นภาวะพร่องแล็กเทสแบบถาวร ก็ควรแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวในการดูแลรักษาตนเองอย่างจริงจัง ผู้ป่วยควรสังเกตว่าการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมในปริมาณเท่าใดที่ไม่ทำให้เกิดอาการ ก็ให้บริโภคในปริมาณนั้นไปเรื่อย ๆ หากต้องการงดบริโภคนมโดยเด็ดขาด ก็ควรรู้จักเลือกบริโภคอาหารให้ถูกต้อง โดยเฉพาะควรได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารอื่นให้เพียงพอ