คางทูม เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำลาย โดยมากมักจะเป็นที่ต่อมน้ำลายข้างหู (parotid glands) พบมากในเด็กอายุ 6-10 ปี มักไม่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปี มีอุบัติการณ์สูงในเดือนมกราคมถึงเมษายน และกรกฎาคมถึงกันยายน อาจพบการระบาดได้เป็นครั้งคราว
- พักผ่อนมาก ๆ ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสเปรี้ยว
- กินอาหารตามปกติหรืออาหารอ่อน (เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก)
- ใช้น้ำอุ่นประคบบริเวณที่เป็นคางทูม
- ถ้ามีไข้สูง หรือปวด กินยาลดไข้แก้ปวด - พาราเซตามอล* (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม) (ดู โรคเรย์ซินโดรม)
- มีอาการชัก ไม่ค่อยรู้สึกตัว ปวดศีรษะมาก อัณฑะปวดและบวม ปวดท้องนานเป็นชั่วโมง ๆ เจ็บหน้าอกมาก หรือตาเหลืองตัวเหลือง
- มีอาการเหงือกอักเสบ
- มีประวัติการแพ้ยา สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือมีโรคตับ โรคไต หรือประจำตัวอื่น ๆ ที่มีการใช้ยา หรือแพทย์นัดติดตามการรักษาอยู่เป็นประจำ
- หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
- อาการไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์
- มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง
*เพื่อความปลอดภัย ควรขอคำแนะนำวิธีและขนาดยาที่ใช้ ผลข้างเคียงของยา และข้อควรระวังในการใช้ยา จากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก สตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวหรือมีการใช้ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งใช้อยู่เป็นประจำ
1. โรคนี้เกิดจากไวรัส ถือเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งมักจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่ต้องฉีดยาหรือให้ยาจำเพาะแต่อย่างใด การที่ชาวบ้านในสมัยก่อนหรือบางคนนิยมเขียน “เสือ” ด้วยตัวหนังสือจีนที่แก้มทั้ง 2 ข้าง หรือใช้ปูนแดงหรือครามป้ายแล้วหายได้นั้นก็เพราะเหตุนี้
2. ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก อย่าให้คลุกคลีกับคนอื่น จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ (ระยะติดต่อตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการจนกระทั่ง 9 วัน หลังมีอาการ)
3. ควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ หากสงสัยควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล
4. เมื่อเป็นแล้วมักจะไม่เป็นซ้ำอีก
5. อาการคางบวม อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ได้ ควรซักถามอาการและตรวจร่างกายให้ถี่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจดูภายในปากและลำคอ (ตรวจอาการ คางบวม/คอบวม ประกอบ) และถ้าให้การดูแลรักษาตามอาการ 1 สัปดาห์แล้วไม่ทุเลา ก็ควรค้นหาสาเหตุอื่นต่อไป เช่น เมลิออยโดซิส ต่อมน้ำลายอักเสบ*
6. ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยโรคนี้ หากมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ (เช่น ไข้ เจ็บคอ เสียงแหบ น้ำมูกไหล ไอ ท้องเดิน หายใจเหนื่อยหอบ) หรือทำการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจแอนติเจน (ATK) ด้วยตนเองให้ผลเป็นบวก ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว