Bivalent Vaccine วัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นใหม่

ปัจจุบันการระบาดของโควิด-19 ได้แพร่กระจายจนเกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสหลากหลายสายพันธุ์ แม้ยอดการติดเชื้อจะลดลงแต่ก็ยังไม่สามารถไว้ใจความรุนแรงของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น จึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยล่าสุดได้มีการนำเข้าวัคซีนรุ่นใหม่ วัคซีนชนิด bivalent ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับสูง

Bivalent Vaccine วัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นใหม่

Bivalent Vaccine วัคซีนเข็มกระตุ้น

ปัจจุบันการระบาดของโควิด-19 ได้แพร่กระจายจนเกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสหลากหลายสายพันธุ์ แม้ยอดการติดเชื้อจะลดลงแต่ก็ยังไม่สามารถไว้ใจความรุนแรงของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น จึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยล่าสุดได้มีการนำเข้าวัคซีนรุ่นใหม่ วัคซีนชนิด bivalent ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับสูง

 

วัคซีนชนิด bivalent คืออะไร

 

วัคซีนไบวาเลนต์ (bivalent) เป็นวัคซีนแบบ 2 สายพันธุ์ ประกอบด้วย mRNA ของสายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์โอมิครอนอย่างละครึ่ง เพื่อนำมาใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้อนุมัติวัคซีนไบวาเลนต์ แล้วในเดือนสิงหาคมปี 2565 ทั้งของ Moderna และ Pfizer

 

ประสิทธิภาพของวัคซีน

 

ผู้ผลิตวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) และวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ได้เผยแพร่ผลการทดสอบ เมื่อเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันก่อนและหลัง คนที่ฉีดวัคซีนแบบ 2 สายพันธุ์ไบวาเลนต์ พบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่าคนที่ฉีดวัคซีนรุ่นเก่าอย่างมีนัยยะสำคัญ

 

ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าวัคซีนชนิด bivalent สามารถป้องกันการติดเชื้อและรักษาระดับภูมิคุ้มกันในระยะยาวได้ดีแค่ไหน ยังคงต้องศึกษาทดลองเพื่อพัฒนาต่อไป เพราะไวรัสกลายพันธุ์ตลอดเวลา

 

ผลข้างเคียงของวัคซีน

 

เมื่อเปรียบเทียบระดับผลข้างเคียงของวัคซีนรุ่นใหม่ (วัคซีนแบบ 2 สายพันธุ์) และรุ่นเก่า (วัคซีนสายพันธุ์เดียว) พบว่าวัคซีนรุ่นใหม่มีเปอร์เซ็นต์ผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นและมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น โดยมีอาการหลักที่เหมือนกัน ดังนี้

  • อาการปวดบริเวณที่ฉีด 
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ 
  • ปวดกล้ามเนื้อ 
  • อาการบวม 
  • มีไข้ 

 

ใครควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น bivalent ก่อน

 

ปัจจุบันประเทศไทยได้เริ่มฉีดวัคซีน bivalent เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้ว
กลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ bivalent เข็มกระตุ้น

  • บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด
  • ผู้ป่วยกลุ่ม 608 คือ กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการป่วยรุนแรง อาทิ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง หรือผู้ป่วยติดเตียง
  • ประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง เช่น สัมผัสกลุ่มเสี่ยง สัมผัสนักท่องเที่ยว

 

ซึ่งผู้ที่สามารถฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น bivalent ต้องเข้าหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • รับวัคซีนโควิด 19 มาแล้วอย่างน้อย 2 เข็ม
  • หากฉีดเข็มที่ 3 ต้องห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 3 เดือน / หากฉีดเข็มที่ 4 ต้องห่างจากเข็มที่ 3 อย่างน้อย 4 เดือน
  • หากเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 มาแล้วและเคยติดเชื้อ ควรฉีดหลังติดเชื้ออย่างน้อย 6 เดือน

 

สรุป

แม้โควิด-19 จะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง แต่การกลายพันธุ์ของโรคและการแพร่กระจายยังมีอยู่ การได้รับวัคซีนที่เหมาะสมจึงยังจำเป็นเพื่อพร้อมรับมือกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

คุณสามารถตรวจอาการเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ด้วย "Smart Doctor" โปรแกรมตรวจอาการเบื้องต้นอัจฉริยะ จาก Doctor at Home

ข้อมูลล่าสุด : 2 พ.ค. 2566