ช่องทางการติดต่อเพื่อรักษาแบบ Home Isolation

ช่องทางการติดต่อเพื่อรักษาแบบ Home Isolation

ช่องทางการติดต่อเพื่อรักษาแบบ Home Isolation

รักษาโควิดที่บ้าน

ช่องทางการติดต่อเพื่อรักษาแบบ Home Isolation

 

เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดตอนนี้ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง กระทรวงสาธารณสุขจึงมีการปรับแนวทางในการรักษา ให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง สามารถทำ Home Isolation ได้

 

โดยการปรับหลักเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติโควิด-19 หรือ UCEP โควิด พลัส (UCEP Plus) ให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและแดงยังสามารถเข้ารักษาได้ที่สถานพยาบาลทุกแห่งจนหายโดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนกลุ่มอาการสีเขียวสามารถเข้ารับการรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาของตน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. 2565 นั้น

 

ผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด-19 ทำการตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้วพบว่าขึ้น 2 ขีด ผลเป็นบวก ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ต้องให้ตรวจยืนยันซ้ำด้วย RT-PCR สามารถติดต่อเพื่อขอทำ Home Isolation ได้ตามโรงพยาบาลที่มีสิทธิรักษาพยาบาล (บัตรทอง) ซึ่งสามารถตรวจสอบสิทธิได้ตามช่องทางดังนี้

 

วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง 

 

1. โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2 

2. เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

3. แอปพลิเคชั่น สปสช. เลือกเมนู "ตรวจสอบสิทธิตนเอง"

4. ไลน์ สปสช. @nhso หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู "ตรวจสอบสิทธิ"

 

ถ้าเป็นกลุ่มที่มีประกันสังคม สามารถติดต่อหรือไปที่โรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ หรือกรณีอยู่ต่างพื้นที่สามารถเข้าโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคมได้ หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ สายด่วนประกันสังคม โทร. 1506

 

เกณฑ์การประเมินระดับอาการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

 

ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือกลุ่มไม่มีอาการ-อาการเล็กน้อย เช่น 

  • มีไข้อุณหภูมิ 37.5 องศาขึ้นไป 
  • ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส
  • เจ็บคอ ไอ/มีน้ำมูก 
  • มีผื่น 
  • ถ่ายเหลว 
  • ตาแดง

ผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้ารับการรักษาได้ฟรี ในโรงพยาบาลตามสิทธิ ได้แก่ บัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม โดยเป็นผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน หรือเจอ แจก จบ (OP with self isolation) หรืออีกแนวทางหนึ่งคือรักษาที่บ้าน (Home Isolation) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยกักตัวที่บ้าน (HI) กักตัวในชุมชน (CI) หรือฮอสพิเทล (ตามความสมัครใจของผู้ป่วย) ติดต่อ สปสช. โทร. 1330 กด 14, ประกันสังคม โทร. 1506 และกรม สบส. โทร. 1426

 

ซึ่งประชาชนสิทธิบัตรทอง นอกจากหน่วยบริการประจำตามสิทธิแล้ว ยังสามารถเข้ารักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยไม่ใช้ใบส่งตัว ตามนโยบายยกระดับบัตรทองได้ด้วย (หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น)

 

โดยระบบการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก OPD (เจอ แจก จบ) และ Home Isolation (HI) ผู้ป่วยต้องรักษาตัวที่บ้านเหมือนกัน แต่มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน คือ

 

ระบบ OPD 

  • มีการแยกกักตัวที่บ้าน
  • มีจ่ายยาตามอาการ
  • มีการโทรติดตามอาการ (ครั้งเดียว เมื่อครบ 48 ชั่วโมง)
  • ไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมินให้
  • มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง
  • ไม่มีบริการส่งอาหารไปให้ตามที่พัก

ระบบ HI

  • มีการแยกกักตัวที่บ้าน
  • มีจ่ายยาตามอาการ
  • มีการโทรติดตามอาการทุกวัน
  • มีอุปกรณ์ตรวจประเมินให้
  • มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง
  • มีบริการส่งอาหารไปให้ตามที่พัก

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวมีอาการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่กลุ่มสีเหลืองหรือสีแดง สามารถส่งตัวไปยังโรงพยาบาลได้ (ใช้สิทธิ UCEP Plus)
 

ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง เช่น

  • แน่นหน้าอก 
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย 
  • ปอดอักเสบ 
  • ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
  • ส่วนเด็กมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมน้อยลง
  • กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มี 7 โรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และผู้มีภาวะอ้วน (น้ำหนักเกิน 90 กก.)

ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง เช่น

  • หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค 
  • แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก 
  • ปอดอักเสบรุนแรง 
  • มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า 
  • มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชม. 
  • ค่าออกซิเจนน้อยกว่า 94%

ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและกลุ่มสีแดง เข้าเกณฑ์ UCEP Plus โดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มนี้สามารถเข้ารับรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ และรักษาฟรีกับ UCEP พลัส ได้ทุกโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ติดต่อ สปสช. โทร. 1330 กด 14, สพฉ. โทร. 1669, กรม สบส. โทร. 1426 และ UCEP พลัส โทร. 0-2872-1669

 

นอกจากนี้ ยังปรับลดวันรักษานอน รพ. จาก 10 วัน เหลือ 7 วัน

 

สำหรับจำนวนวันรักษาโควิด-19 ในโรงพยาบาล ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 10 วัน จะมีการหารือปรับลดเป็นลักษณะ 7 + 3 คือ รักษาในโรงพยาบาล 7 วัน และกลับไปแยกกักตัวที่บ้านต่ออีก 3 วัน แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาบนหลักของความปลอดภัยโดยแพทย์

 

 

 

ที่มา :

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก https://www.nhso.go.th/news/3519

ข้อมูลล่าสุด : 16 มิ.ย. 2565