
กลากน้ำนม เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย พบมากในช่วงอายุ 3-16 ปี และพบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เด็กที่มีอายุน้อยกว่านี้และผู้ใหญ่ก็อาจเป็นโรคนี้ได้
มักพบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ และถือว่ากลากน้ำนมเป็นอาการแสดงรูปแบบหนึ่งของโรคนี้
อาการมักจะเป็นมากในหน้าร้อน หรือหลังตากแดดตากลม
สาเหตุ
เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocyte) ที่ชั้นหนังกำพร้าไม่สามารถสร้างเม็ดสี (pigment) ได้ตามปกติ ทำให้ผิวหนังในส่วนนั้นกลายเป็นรอยด่างขาว แต่สาเหตุที่ทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีเกิดความผิดปกติยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การขาดอาหาร แพ้ลม หรือแพ้แดด
บางรายอาจพบร่วมกับโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคภูมิแพ้อื่น ๆ
บางรายอาจพบร่วมกับโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคภูมิแพ้อื่น ๆ
อาการ
แรกเริ่มจะเกิดเป็นจุดแดงเล็ก ๆ ก่อน แล้วแผ่ขยายเป็นวงแดงจาง ๆ ขนาด 0.5-3 ซม. มีขุยบาง ๆ ต่อมาสีจะจางลงเป็นวงสีขาว ๆ ลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี ขอบเขตไม่ชัดเจน และมีขุยบาง ๆ โดยมากจะไม่มีอาการคัน
ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณหน้า (รอบปาก แก้ม หรือหน้าผาก) บางรายอาจพบที่คอ ไหล่ และแขน
วงด่างขาวนี้มักเป็นอยู่นานเป็นแรมเดือนแรมปี หรือเป็น ๆ หาย ๆ จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะหายไปได้เอง
ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณหน้า (รอบปาก แก้ม หรือหน้าผาก) บางรายอาจพบที่คอ ไหล่ และแขน
วงด่างขาวนี้มักเป็นอยู่นานเป็นแรมเดือนแรมปี หรือเป็น ๆ หาย ๆ จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะหายไปได้เอง
ภาวะแทรกซ้อน
มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไร นอกจากความรู้สึกกังวลหรืออายที่มีรอยด่างขาวผิดไปจากคนปกติ
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ
หากไม่แน่ใจอาจทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อแยกจากสาเหตุอื่น เช่น เกลื้อน โรคด่างขาว
หากไม่แน่ใจอาจทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อแยกจากสาเหตุอื่น เช่น เกลื้อน โรคด่างขาว
การรักษาโดยแพทย์
แพทย์จะให้การรักษาด้วยการใช้ครีมบำรุงผิว หรือทาครีมสเตียรอยด์ เช่น ครีมไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์
แนะนำให้ใช้สบู่อ่อน (เช่น สบู่เหลว สบู่เด็ก) ในการล้างทำความสะอาดบริเวณที่เป็น
แนะนำให้ใช้สบู่อ่อน (เช่น สบู่เหลว สบู่เด็ก) ในการล้างทำความสะอาดบริเวณที่เป็น
การดูแลตนเอง
หากสงสัย เช่น มีวงสีขาวตามผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเป็นกลากน้ำนม ควรดูแลตนเอง ดังนี้
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
เมื่อตรวจพบว่าเป็นกลากน้ำนม ควรดูแลตนเอง ดังนี้
- รักษา ใช้ยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
- หลีกเลี่ยงการซื้อยาที่นอกเหนือจากที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำมาใช้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาทาประเภทแสบร้อน อาจทำให้หน้าไหม้เกรียม หรือหนังแห้งเป็นผื่นดำได้
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลาใน 1-2 สัปดาห์
- มีอาการลุกลาม หรือกำเริบใหม่
- ขาดยา หรือยาหาย
- ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปใช้ต่อที่บ้าน ใช้ยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
การป้องกัน
- ใช้สบู่อ่อน (เช่น สบู่เหลว สบู่เด็ก) ในการล้างทำความสะอาดร่างกาย
- ทาครีมบำรุงผิวอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงการออกกลางแดด ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้ทายากันแดด
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้อาจเป็นเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ นาน 1-2 ปี แต่ก็ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด และไม่ติดต่อให้ผู้อื่น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะหายได้เอง
2. โรคนี้ต่างจากเกลื้อน ตรงที่เกลื้อนจะเกิดขึ้นที่หลัง คอ และหน้าอก และพบมากในคนหนุ่มสาวที่มีเหงื่อออกมาก แต่กลากน้ำนมจะเกิดมากที่ใบหน้าและไหล่ และพบมากในเด็กจนถึงวัยหนุ่มสาว
ถ้าใช้สเตียรอยด์ทาแล้วกลับลุกลามมากขึ้น ก็อาจเป็นเกลื้อน ควรหยุดยา แล้วให้ยารักษาเกลื้อนแทน
3. โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการกินนม แต่ที่เรียกว่ากลากน้ำนม เพราะว่ามักจะพบในระยะที่เด็กกินนม และลักษณะเหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม
2. โรคนี้ต่างจากเกลื้อน ตรงที่เกลื้อนจะเกิดขึ้นที่หลัง คอ และหน้าอก และพบมากในคนหนุ่มสาวที่มีเหงื่อออกมาก แต่กลากน้ำนมจะเกิดมากที่ใบหน้าและไหล่ และพบมากในเด็กจนถึงวัยหนุ่มสาว
ถ้าใช้สเตียรอยด์ทาแล้วกลับลุกลามมากขึ้น ก็อาจเป็นเกลื้อน ควรหยุดยา แล้วให้ยารักษาเกลื้อนแทน
3. โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการกินนม แต่ที่เรียกว่ากลากน้ำนม เพราะว่ามักจะพบในระยะที่เด็กกินนม และลักษณะเหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม