บางรายอาจมีประวัติประจำเดือนขาดนำมาก่อนสัก 2-3 เดือน
ในรายที่มีเลือดออกมากและเร็ว อาจเกิดภาวะช็อก
การตรวจร่างกายมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน
ในรายที่มีเลือดออกมาก อาจตรวจพบภาวะซีด
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจภายในช่องคลอด อาจต้องตรวจเลือด (ประเมินภาวะซีด และการแข็งตัวของเลือด) ตรวจปัสสาวะ (ดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่) การตรวจอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด (transvaginal ultrasonography) เพื่อดูว่ามีการหนาตัวของเยื่อบุมดลูกหรือไม่ และอาจต้องตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าสงสัยมีพยาธิสภาพในโพรงมดลูก เช่น ตรวจชิ้นเนื้อในรายที่สงสัยเป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูก ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปี
1. ในรายที่มีเลือดออกน้อย ไม่ซีดหรือซีดเล็กน้อย และยังทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แพทย์จะให้ยาบำรุงโลหิต และอาจให้ยาฮอร์โมนในรายที่มีภาวะซีด เพื่อควบคุมให้เลือดออกน้อยลง
2. ในรายที่มีเลือดออกปานกลาง มีภาวะซีดเล็กน้อย แต่ยังรู้สึกตัวดี ความดันโลหิตและชีพจรเป็นปกติ แพทย์จะให้ฮอร์โมนบำบัด และให้ยาบำรุงโลหิต
3. ในรายที่มีเลือดออกมาก มีภาวะซีดมาก หรือมีชีพจรเต้นเร็ว หรือภาวะช็อก แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้เลือดในรายที่เสียเลือดมาก และให้ยาฮอร์โมนเพื่อควบคุมภาวะเลือดออก
4. ถ้าให้ยาฮอร์โมนแล้วเลือดไม่หยุด (ปกติควรจะหยุดภายใน 24 ชั่วโมง หรือภายใน 2-3 วัน) หรือพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปี แพทย์อาจทำการขูดมดลูก และทำการตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นมะเร็งโพรงมดลูก ในบางรายแพทย์อาจใช้กล้องส่องตรวจโพรงมดลูก (hysteroscopy) เพื่อตรวจพยาธิสภาพในโพรงมดลูก
การขูดมดลูกจะช่วยให้เลือดหยุดได้ หลังจากนั้นจำเป็นต้องให้กินยาเม็ดคุมกำเนิดนานอย่างน้อย 3-6 เดือน
เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฮอร์โมนหรือมีความผิดปกติของโพรงมดลูก (เช่น เนื้องอกมดลูก มะเร็งมดลูก) ก็จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูก
เมื่อตรวจพบว่าเป็นดียูบี ควรดูแลตนเอง ดังนี้
- รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
- ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลา
- มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือหน้าตาซีดกว่าปกติ
- ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
- ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
ควรหาทางป้องกันไม่ให้โรคกลายเป็นรุนแรงด้วยการดูแลรักษากับแพทย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง