ต่อมไทรอยด์อักเสบ หมายถึง การอักเสบของเนื้อเยื่อไทรอยด์ ซึ่งมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันได้หลายชนิด ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิต้านตนเอง และต่อมไทรอยด์อักเสบจากไวรัส
สาเหตุ
1. ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิต้านตนเอง/ไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโต (chronic autoimmune thyroiditis/Hashimoto’s thyroiditis) เกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง โดยร่างกายมีการสร้างสารภูมิต้านทานต่อไทรอยด์ (antithyroid antibody) ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ พบมากในผู้หญิงวัยกลางคนและสูงอายุ อาจมีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
โรคนี้อาจพบในผู้ที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner’s syndrome) หรือพบร่วมกับภาวะภูมิต้านตนเองอื่น ๆ เช่น เบาหวาน โรคแอดดิสัน เอสแอลอี โรคปวดข้อรูมาตอยด์ ภาวะขาดพาราไทรอยด์ ไมแอสทีเนียเกรวิส ผมร่วงเป็นหย่อมไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
2. ต่อมไทรอยด์อักเสบจากไวรัส มักเกิดขึ้นฉับพลันหลังเป็นโรคติดเชื้อไวรัส เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น คางทูม หัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น มักมีอาการอยู่นาน 2-3 เดือน แล้วหายไปได้เอง เรียกว่า ต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลัน (subacute thyroiditis) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 3-5 เท่า และพบบ่อยในช่วงอายุ 20-40 ปี
3. สาเหตุอื่น ๆ ซึ่งพบได้น้อย เช่น
โรคนี้อาจพบในผู้ที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner’s syndrome) หรือพบร่วมกับภาวะภูมิต้านตนเองอื่น ๆ เช่น เบาหวาน โรคแอดดิสัน เอสแอลอี โรคปวดข้อรูมาตอยด์ ภาวะขาดพาราไทรอยด์ ไมแอสทีเนียเกรวิส ผมร่วงเป็นหย่อมไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
2. ต่อมไทรอยด์อักเสบจากไวรัส มักเกิดขึ้นฉับพลันหลังเป็นโรคติดเชื้อไวรัส เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น คางทูม หัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น มักมีอาการอยู่นาน 2-3 เดือน แล้วหายไปได้เอง เรียกว่า ต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลัน (subacute thyroiditis) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 3-5 เท่า และพบบ่อยในช่วงอายุ 20-40 ปี
3. สาเหตุอื่น ๆ ซึ่งพบได้น้อย เช่น
- พบในหญิงหลังคลอด คือมีอาการหลังคลอดบุตร ภายใน 1-6 เดือน เรียกว่า ต่อมไทรอยด์อักเสบหลังคลอด (postpartum thyroiditis) ซึ่งพบว่าร่างกายมีการสร้างสารภูมิต้านทานต่อไทรอยด์ คล้ายกับไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโต
- ต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน (acute suppurative thyroiditis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น สแตฟีโลค็อกคัส สเตรปโตค็อกคัส เป็นต้น มักพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มาแต่กำเนิด (เช่น persistent thyroglossal duct) และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น เอดส์)
- ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบรีเดล (Riedel’s thyroiditis/invasive thyroiditis) มักพบว่ามีภาวะเกิดพังผืด (fibrosis) ที่ต่อมไทรอยด์และอวัยวะอื่น ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ มักพบในผู้หญิงวัยกลางคนและสูงอายุ
- เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น อะมิโอดาโรน (amiodarone) อินเตอร์เฟอรอน (interferon) เป็นต้น
อาการ
ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิต้านตนเอง/ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโต ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดง จนกว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจใช้เวลานานเป็นแรมปี ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมไทรอยด์โตแบบกระจาย มีลักษณะแข็งแบบหยุ่น ๆ โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด อาจโตอยู่ข้างเดียว (ซึ่งทำให้คิดว่าเป็นเนื้องอกไทรอยด์) ผู้ป่วยมักมีภาวะขาดไทรอยด์ ร่วมด้วย
บางรายอาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน นำมาก่อนในช่วงแรก แล้วจึงมีภาวะขาดไทรอยด์ตามมา
ในรายที่เป็นต่อมไทรอยด์อักเสบหลังคลอด มักมีอาการคอพอกร่วมกับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหลังคลอดประมาณ 1-6 เดือน ซึ่งจะเป็นอยู่นาน 1-2 เดือน แล้วต่อมาเกิดภาวะขาดไทรอยด์ตามมาในช่วง 4-8 เดือนหลังคลอด ซึ่งส่วนใหญ่มักจะหายเป็นปกติได้เอง แต่มีโอกาสกำเริบซ้ำในการคลอดบุตรครั้งต่อ ๆ ไป ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยจะกลายเป็นภาวะขาดไทรอยด์อย่างถาวรในที่สุด
ต่อมไทรอยด์อักเสบจากไวรัส ผู้ป่วยมักมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันด้วยอาการไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย คอโต เจ็บคอ ซึ่งอาจร้าวไปที่หู ขากรรไกร ท้ายทอย มักเจ็บมากขึ้นเวลาเงยคอไปข้างหลัง และทุเลาเวลาก้มคอลงข้างหน้า อาการมักเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ ในช่วงแรกอาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินร่วมด้วย แล้วต่อมามีภาวะขาดไทรอยด์ตามมา ซึ่งจะค่อย ๆ หายเป็นปกติได้เองในที่สุด (ซึ่งอาจใช้เวลานาน 2-3 เดือน) ส่วนน้อยอาจมีอาการกลับเป็นซ้ำ หรือกลายเป็นภาวะขาดไทรอยด์อย่างถาวร
ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นโรคติดเชื้อไวรัส (เช่น ไข้ หวัด คางทูม หัด) นำมาก่อน
ต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน มักมีอาการไข้สูงฉับพลัน ร่วมกับเจ็บคอ คอโต เสียงแหบ กลืนลำบาก
ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบรีเดล ผู้ป่วยมักมีอาการคอโต เป็นก้อนแข็ง โตเร็วและไม่เจ็บ อาจโตเพียงข้างเดียวหรือพร้อมกันทั้ง 2 ข้างก็ได้ และอาจมีอาการเสียงแหบ กลืนลำบาก หายใจลำบากร่วมด้วย ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยมีภาวะขาดไทรอยด์ร่วมด้วย น้อยรายที่อาจมีภาวะขาดพาราไทรอยด์เนื่องจากมีภาวะเกิดพังผืดของต่อมพาราไทรอยด์
บางรายอาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน นำมาก่อนในช่วงแรก แล้วจึงมีภาวะขาดไทรอยด์ตามมา
ในรายที่เป็นต่อมไทรอยด์อักเสบหลังคลอด มักมีอาการคอพอกร่วมกับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหลังคลอดประมาณ 1-6 เดือน ซึ่งจะเป็นอยู่นาน 1-2 เดือน แล้วต่อมาเกิดภาวะขาดไทรอยด์ตามมาในช่วง 4-8 เดือนหลังคลอด ซึ่งส่วนใหญ่มักจะหายเป็นปกติได้เอง แต่มีโอกาสกำเริบซ้ำในการคลอดบุตรครั้งต่อ ๆ ไป ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยจะกลายเป็นภาวะขาดไทรอยด์อย่างถาวรในที่สุด
ต่อมไทรอยด์อักเสบจากไวรัส ผู้ป่วยมักมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันด้วยอาการไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย คอโต เจ็บคอ ซึ่งอาจร้าวไปที่หู ขากรรไกร ท้ายทอย มักเจ็บมากขึ้นเวลาเงยคอไปข้างหลัง และทุเลาเวลาก้มคอลงข้างหน้า อาการมักเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ ในช่วงแรกอาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินร่วมด้วย แล้วต่อมามีภาวะขาดไทรอยด์ตามมา ซึ่งจะค่อย ๆ หายเป็นปกติได้เองในที่สุด (ซึ่งอาจใช้เวลานาน 2-3 เดือน) ส่วนน้อยอาจมีอาการกลับเป็นซ้ำ หรือกลายเป็นภาวะขาดไทรอยด์อย่างถาวร
ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นโรคติดเชื้อไวรัส (เช่น ไข้ หวัด คางทูม หัด) นำมาก่อน
ต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน มักมีอาการไข้สูงฉับพลัน ร่วมกับเจ็บคอ คอโต เสียงแหบ กลืนลำบาก
ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบรีเดล ผู้ป่วยมักมีอาการคอโต เป็นก้อนแข็ง โตเร็วและไม่เจ็บ อาจโตเพียงข้างเดียวหรือพร้อมกันทั้ง 2 ข้างก็ได้ และอาจมีอาการเสียงแหบ กลืนลำบาก หายใจลำบากร่วมด้วย ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยมีภาวะขาดไทรอยด์ร่วมด้วย น้อยรายที่อาจมีภาวะขาดพาราไทรอยด์เนื่องจากมีภาวะเกิดพังผืดของต่อมพาราไทรอยด์
ภาวะแทรกซ้อน
ที่สำคัญ คือ ภาวะขาดไทรอยด์
สำหรับต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโต นอกจากภาวะขาดไทรอยด์แล้ว ยังอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น หัวใจโต หัวใจวาย ภาวะซึมเศร้า ความรู้สึกทางเพศลดลง หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคนี้อาจมีทารกที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ หรือทารกมีความผิดปกติของสมอง หัวใจและไต
สำหรับต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโต นอกจากภาวะขาดไทรอยด์แล้ว ยังอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น หัวใจโต หัวใจวาย ภาวะซึมเศร้า ความรู้สึกทางเพศลดลง หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคนี้อาจมีทารกที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ หรือทารกมีความผิดปกติของสมอง หัวใจและไต
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้
มักตรวจพบอาการคอพอกหรือต่อมไทรอยด์โต
ในรายที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักมีไข้ต่ำ (37.5-38.5 องศาเซลเซียส) ต่อมไทรอยด์โตและกดเจ็บ
ในรายที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักมีไข้สูง (38-40 องศาเซลเซียส) ต่อมไทรอยด์โต กดเจ็บ มีลักษณะแดง ซึ่งมักเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ต่อมาอาจกลายเป็นฝี (กดนุ่ม) มักมีต่อมน้ำเหลืองข้างคอโต
ในรายที่เป็นต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิต้านตนเอง มักตรวจพบต่อมไทรอยด์โตแบบกระจาย ลักษณะแข็งแบบหยุ่น ๆ
ในรายที่เป็นต่อมไทรอยด์อักเสบแบบรีเดล มักตรวจพบต่อมไทรอยด์โตเป็นก้อนแข็ง และยึดแน่นกับเนื้อเยื่อโดยรอบ
นอกจากนี้อาจตรวจพบภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (เช่น น้ำหนักลด ชีพจรเต้นเร็ว มือสั่น เหงื่อออก เป็นต้น) หรือภาวะขาดไทรอยด์ (เช่น น้ำหนักขึ้น หน้าและหนังตาบวมฉุ ชีพจรเต้นช้า ผิวหนังหยาบแห้งและเย็น ผมบางและหยาบ เป็นต้น)
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจเลือดทดสอบการทำงานของไทรอยด์ (thyroid function test) ตรวจหาสารภูมิต้านทานต่อไทรอยด์ สแกนต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์ ในบางรายอาจทำการตรวจชิ้นเนื้อ (fine-needle aspiration biopsy) เพื่อแยกโรคมะเร็งไทรอยด์
มักตรวจพบอาการคอพอกหรือต่อมไทรอยด์โต
ในรายที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักมีไข้ต่ำ (37.5-38.5 องศาเซลเซียส) ต่อมไทรอยด์โตและกดเจ็บ
ในรายที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักมีไข้สูง (38-40 องศาเซลเซียส) ต่อมไทรอยด์โต กดเจ็บ มีลักษณะแดง ซึ่งมักเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ต่อมาอาจกลายเป็นฝี (กดนุ่ม) มักมีต่อมน้ำเหลืองข้างคอโต
ในรายที่เป็นต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิต้านตนเอง มักตรวจพบต่อมไทรอยด์โตแบบกระจาย ลักษณะแข็งแบบหยุ่น ๆ
ในรายที่เป็นต่อมไทรอยด์อักเสบแบบรีเดล มักตรวจพบต่อมไทรอยด์โตเป็นก้อนแข็ง และยึดแน่นกับเนื้อเยื่อโดยรอบ
นอกจากนี้อาจตรวจพบภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (เช่น น้ำหนักลด ชีพจรเต้นเร็ว มือสั่น เหงื่อออก เป็นต้น) หรือภาวะขาดไทรอยด์ (เช่น น้ำหนักขึ้น หน้าและหนังตาบวมฉุ ชีพจรเต้นช้า ผิวหนังหยาบแห้งและเย็น ผมบางและหยาบ เป็นต้น)
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจเลือดทดสอบการทำงานของไทรอยด์ (thyroid function test) ตรวจหาสารภูมิต้านทานต่อไทรอยด์ สแกนต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์ ในบางรายอาจทำการตรวจชิ้นเนื้อ (fine-needle aspiration biopsy) เพื่อแยกโรคมะเร็งไทรอยด์
การรักษาโดยแพทย์
แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ ดังนี้
ถ้ามีภาวะขาดไทรอยด์ (ซึ่งมักเป็นชั่วคราว) แพทย์จะให้ฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น เอลทร็อกซิน ทดแทน
- ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิต้านตนเอง ในรายที่มีภาวะขาดไทรอยด์ แพทย์จะให้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน ได้แก่ เลโวไทร็อกซีน กินวันละ 1-2 เม็ด ส่วนในรายระดับฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ มักจะนัดมาตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะพบมีภาวะขาดไทรอยด์ตามมา
- ต่อมไทรอยด์อักเสบจากไวรัส ให้แอสไพริน หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ในรายที่เป็นรุนแรง แพทย์อาจให้เพร็ดนิโซโลน
ถ้ามีภาวะขาดไทรอยด์ (ซึ่งมักเป็นชั่วคราว) แพทย์จะให้ฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น เอลทร็อกซิน ทดแทน
- ต่อมไทรอยด์อักเสบจากการติดเชื้อเฉียบพลัน แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ ในรายที่กลายเป็นฝี อาจต้องทำการผ่าตัดระบายหนอง
- ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบรีเดล แพทย์มักจะต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อแยกออกจากโรคมะเร็งไทรอยด์ หากพบว่าเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบแบบรีเดล ก็จะให้ยาทาม็อกซิเฟน (tamoxifen) ซึ่งมักจะช่วยให้ก้อนไทรอยด์ยุบลงได้ภายใน 3-6 เดือน และผู้ป่วยควรกินยานี้ต่อไปนานเป็นแรมปี ในรายที่ก้อนโตจนกดอวัยวะข้างเคียงหรือมีอาการปวด มักจะให้เพร็ดนิโซโลนร่วมด้วยในช่วงระยะสั้น ๆ ในรายที่ก้อนโตกดท่อลม (หายใจลำบาก) อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ส่วนในรายที่มีภาวะขาดไทรอยด์ก็จะให้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน
การดูแลตนเอง
หากสงสัย เช่น มีอาการคอโต ต่อมไทรอยด์โตหรือเป็นก้อน หรือมีอาการไข้ และเจ็บตรงต่อมไทรอยด์ ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ ควรดูแลตนเอง ดังนี้
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
เมื่อตรวจพบว่าเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ ควรดูแลตนเอง ดังนี้
- รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น น้ำหนักลด หรือคอโตมากขึ้น
- ขาดยาหรือยาหาย
- กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
การป้องกัน
ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากโรคนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและปัจจัยที่ป้องกันได้ยาก
ควรหาทางป้องกันไม่ให้โรคกลายเป็นรุนแรงด้วยการดูแลรักษากับแพทย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ควรหาทางป้องกันไม่ให้โรคกลายเป็นรุนแรงด้วยการดูแลรักษากับแพทย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ข้อแนะนำ
1. ต่อมไทรอยด์อักเสบที่เป็นเรื้อรัง มักเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง ผู้ป่วยจะมีอาการคอพอกโดยไม่มีอาการเจ็บคอและไม่มีไข้ และถ้าไม่มีอาการแสดงของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หรือภาวะขาดไทรอยด์ ก็อาจทำให้คิดว่าเป็นคอพอกธรรมดา ดังนั้น ถ้าพบผู้ป่วยมีอาการคอพอก ควรส่งตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาตามสาเหตุ
2. อาการคอพอกที่มีอาการเจ็บปวดที่คอพอกและมีไข้ร่วมด้วยมักเกิดจากไวรัส แม้ว่าอาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือภาวะขาดไทรอยด์ก็มักจะเป็นอยู่เพียงชั่วคราว ส่วนใหญ่จะหายไปได้เองในที่สุด
3. ต่อมไทรอยด์อักเสบที่มีลักษณะคอโตเป็นก้อนแข็งหรือโตเร็ว ควรส่งตรวจชิ้นเนื้อเพื่อแยกออกจากมะเร็งไทรอยด์
2. อาการคอพอกที่มีอาการเจ็บปวดที่คอพอกและมีไข้ร่วมด้วยมักเกิดจากไวรัส แม้ว่าอาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือภาวะขาดไทรอยด์ก็มักจะเป็นอยู่เพียงชั่วคราว ส่วนใหญ่จะหายไปได้เองในที่สุด
3. ต่อมไทรอยด์อักเสบที่มีลักษณะคอโตเป็นก้อนแข็งหรือโตเร็ว ควรส่งตรวจชิ้นเนื้อเพื่อแยกออกจากมะเร็งไทรอยด์