
ไอทีพี (ITP ซึ่งย่อมาจาก idiopathic thrombocytopenic purpura) เป็นโรคที่พบได้ไม่น้อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
สาเหตุ
ผู้ป่วยจะมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยที่ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดได้ตามปกติ แต่ร่างกายมีการสร้างสารภูมิต้านทานต่อเกล็ดเลือด (platelet antibody) ขึ้นมาทำลายเกล็ดเลือดของตัวเอง จึงทำให้เกล็ดเลือดต่ำ และเลือดออกง่าย
ในเด็ก อาจเกิดอาการหลังติดเชื้อไวรัส
ในเด็ก อาจเกิดอาการหลังติดเชื้อไวรัส
อาการ
ผู้ป่วยจะมีจุดแดงขึ้นตามตัว บางรายอาจมีจ้ำเขียวร่วมด้วย โดยไม่มีอาการอื่นใดนำมาก่อน
บางรายอาจมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น มีเลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนออกมาก ถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น
โดยทั่วไปผู้ป่วยจะไม่มีอาการซีด ยกเว้นถ้ามีเลือดออกมาก
ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ ตับม้ามและต่อมน้ำเหลืองไม่โต
บางรายอาจมีอาการเรื้อรังเป็นเดือนเป็นปี
บางรายอาจมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น มีเลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนออกมาก ถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น
โดยทั่วไปผู้ป่วยจะไม่มีอาการซีด ยกเว้นถ้ามีเลือดออกมาก
ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ ตับม้ามและต่อมน้ำเหลืองไม่โต
บางรายอาจมีอาการเรื้อรังเป็นเดือนเป็นปี
ภาวะแทรกซ้อน
อาจทำให้มีเลือดออกรุนแรง และอันตรายที่ร้ายแรงคือ อาจมีเลือดออกในสมองถึงเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและการตรวจพบว่า มีจุดแดงขึ้นตามตัว อาจมีจ้ำเขียวร่วมด้วย
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจเลือด ซึ่งจะพบว่ามีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ ถ้าจำเป็นอาจทำการตรวจไขกระดูกซึ่งจะพบว่าปกติ
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจเลือด ซึ่งจะพบว่ามีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ ถ้าจำเป็นอาจทำการตรวจไขกระดูกซึ่งจะพบว่าปกติ
การรักษาโดยแพทย์
แพทย์จะให้การดูแลรักษาดังนี้
ในรายที่มีอาการเล็กน้อย แพทย์จะทำการติดตามสังเกตดูอาการและตรวจเลือดดูปริมาณเกล็ดเลือด โดยไม่ต้องให้ยารักษา ซึ่งส่วนใหญ่มักหายได้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก
ในรายที่มีเลือดออกมาก จะให้เลือดหรือเกล็ดเลือด
ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง ซึ่งมักพบในผู้ใหญ่ แพทย์จะรักษาด้วยยาสตีรอยด์ (เช่น เพร็ดนิโซโลน) แล้วตรวจเลือดสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ถ้าไม่ได้ผล อาจเพิ่มขนาดของยาให้ได้ผล ถ้าได้ผลจะค่อย ๆ ลดขนาดของยาลง จนกระทั่งหยุดยา เมื่อลดยาหรือหยุดยาแล้ว กลับมีอาการใหม่ ก็เริ่มให้ยานี้ใหม่อีก ผู้ป่วยส่วนมากจะหายได้ภายใน 2-3 เดือน แต่บางรายอาจเป็นนานเกิน 3 เดือน ก็ถือว่าเป็นชนิดเรื้อรัง
ผู้ป่วยบางรายที่รักษาไม่ได้ผล อาจต้องพิจารณาให้อิมมูนโกลบูลินฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous immune globulin /IVIG) หรือ การตัดม้าม เพื่อลดการทำลายเกล็ดเลือด
หากรักษาด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยการให้ยากระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือด (เช่น romiplostim, eltrombopag) หรือ ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น วินคริสทีน (vincristine), ไซโคลฟอสฟาไมด์ (cyclophosphamide), อะซาไทโอพรีน (azathioprine), ไรทูซิแมบ (rituximab) เป็นต้น
ในรายที่มีอาการเล็กน้อย แพทย์จะทำการติดตามสังเกตดูอาการและตรวจเลือดดูปริมาณเกล็ดเลือด โดยไม่ต้องให้ยารักษา ซึ่งส่วนใหญ่มักหายได้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก
ในรายที่มีเลือดออกมาก จะให้เลือดหรือเกล็ดเลือด
ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง ซึ่งมักพบในผู้ใหญ่ แพทย์จะรักษาด้วยยาสตีรอยด์ (เช่น เพร็ดนิโซโลน) แล้วตรวจเลือดสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ถ้าไม่ได้ผล อาจเพิ่มขนาดของยาให้ได้ผล ถ้าได้ผลจะค่อย ๆ ลดขนาดของยาลง จนกระทั่งหยุดยา เมื่อลดยาหรือหยุดยาแล้ว กลับมีอาการใหม่ ก็เริ่มให้ยานี้ใหม่อีก ผู้ป่วยส่วนมากจะหายได้ภายใน 2-3 เดือน แต่บางรายอาจเป็นนานเกิน 3 เดือน ก็ถือว่าเป็นชนิดเรื้อรัง
ผู้ป่วยบางรายที่รักษาไม่ได้ผล อาจต้องพิจารณาให้อิมมูนโกลบูลินฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous immune globulin /IVIG) หรือ การตัดม้าม เพื่อลดการทำลายเกล็ดเลือด
หากรักษาด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยการให้ยากระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือด (เช่น romiplostim, eltrombopag) หรือ ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น วินคริสทีน (vincristine), ไซโคลฟอสฟาไมด์ (cyclophosphamide), อะซาไทโอพรีน (azathioprine), ไรทูซิแมบ (rituximab) เป็นต้น
การดูแลตนเอง
หากสงสัย เช่น มีจุดแดงจ้ำเขียวตามผิวหนัง หรือ มีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ เช่น มีเลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนออกมาก ถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
เมื่อตรวจพบว่าเป็นไอทีพี ควรดูแลตนเอง ดังนี้
ควรกลับไปพบแพทย์โดยเร็ว ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
เมื่อตรวจพบว่าเป็นไอทีพี ควรดูแลตนเอง ดังนี้
- รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ มีเลือดออก
- หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาแก้ปวด และแก้ข้ออักเสบกินเอง เพราะอาจเสริมให้เลือดออกมากขึ้น
ควรกลับไปพบแพทย์โดยเร็ว ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- มีไข้สูง ปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก หรือซึมมาก หรือสงสัยมีเลือดออกในสมอง
- มีเลือดออก ทำการห้ามเลือดเบื้องต้นแล้วเลือดไม่หยุดไหล
- ประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับบาดเจ็บ
- ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา (เช่น มีไข้สูง ลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ)
การป้องกัน
ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
ควรป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม โดยการไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ เมื่อสังเกตว่ามีอาการที่น่าสงสัย
ควรป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม โดยการไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ เมื่อสังเกตว่ามีอาการที่น่าสงสัย
ข้อแนะนำ
โรคนี้ส่วนมากมีทางรักษาให้หายขาดได้ ส่วนน้อยอาจเป็นเรื้อรัง หรือมีโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เลือดออกมาก เลือดออกในสมอง
ถ้าพบผู้ป่วยมีจุดแดงขึ้นตามตัวโดยไม่มีอาการอื่น ๆ นำมาก่อน ควรนึกถึงโรคนี้ และควรแนะนำไปพบแพทย์โดยเร็ว
ถ้าพบผู้ป่วยมีจุดแดงขึ้นตามตัวโดยไม่มีอาการอื่น ๆ นำมาก่อน ควรนึกถึงโรคนี้ และควรแนะนำไปพบแพทย์โดยเร็ว