สาเหตุมีหลากหลายประการ ขึ้นกับชนิดของช็อก ซึ่งแบ่งเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ ภาวะช็อกจากปริมาตรของเลือดลดลง (hypovolemic/oligemic shock) ภาวะช็อกจากความผิดปกติของหัวใจ (cardiogenic shock) ภาวะช็อกจากภาวะอุดกั้นนอกหัวใจ (extracardiac obstructive shock) และภาวะช็อกจากปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว (distributive shock) แต่ละชนิดก็อาจมีสาเหตุได้ต่าง ๆ (ดู "ชนิดและสาเหตุของช็อก" ด้านล่าง) ภาวะเหล่านี้ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ความดันโลหิตต่ำ อวัยวะสำคัญขาดเลือดจนเซลล์ตาย เกิดอาการที่รุนแรงมากมาย
- การตกเลือด เช่น เลือดออกจากบาดแผลหรือกระดูกหัก ตกเลือดหลังคลอดหรือแท้งบุตร อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ไข้เลือดออก เลือดออกในช่องปอดหรือช่องท้อง ครรภ์นอกมดลูก
- การสูญเสียน้ำออกภายนอก เช่น ท้องเดินรุนแรง อาเจียนรุนแรง การใช้ยาขับปัสสาวะมากเกิน ภาวะคีโตแอซิโดซิส หรือน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรงในผู้ป่วยเบาหวาน เบาจืด บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
- การสูญเสียน้ำอยู่ภายในร่างกาย เช่น ไข้เลือดออก กระเพาะหรือลำไส้อุดกั้น ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ภาวะท้องมาน (ascites)
- การแพ้ที่รุนแรง เรียกว่า ภาวะช็อกจากการแพ้ (anaphylactic shock) เช่น แพ้ยา (ที่พบบ่อย คือ เพนิซิลลิน ยาชา) เซรุ่มที่ผลิตจากสัตว์ พิษแมลง (ผึ้ง ต่อ มด) อาหาร (กุ้ง หอย ปู ไข่) เป็นต้น
- ความผิดปกติของระบบประสาท เรียกว่า ภาวะช็อกจากระบบประสาท (neurogenic shock) ที่สำคัญได้แก่ ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
- โรคติดเชื้อ เรียกว่า ภาวะช็อกจากโรคติดเชื้อ (septic shock) เช่น โลหิตเป็นพิษ ปอดอักเสบ ไทฟอยด์ ถุงน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ กรวยไตอักเสบ เยื่อบุมดลูกอักเสบจากการทำแท้ง เป็นต้น พิษของเชื้อโรคจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมีหลายชนิด ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว นอกจากนี้ยังมีผลต่อการทำงานของหัวใจและเลือดออกง่าย (ร่างกายสูญเสียเลือด) ดังนั้น ภาวะช็อกจากโรคติดเชื้อจึงอาจเกิดจากกลไกหลายอย่างร่วมกัน
- การใช้ยา ได้แก่ กลุ่มยาขยายหลอดเลือด เช่น ไอโซซอร์ไบด์ (isosorbide) ถ้าใช้เกินขนาดอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้
- ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน (acute adrenal insufficiency) พบในผู้ป่วยโรคแอดดิสัน และผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภาวะช็อก เรียกว่า ภาวะต่อมหมวกไตวิกฤติ (adrenal crisis)
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง เลือดเป็นกรดจากการคั่งของกรดแล็กติก กลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย เซลล์สมองตาย
- ให้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
- ผ่าตัดผู้ป่วยที่เป็นครรภ์นอกมดลูก
- ให้การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบฉุกเฉิน เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบัลลูน
- ภาวะช็อกจากต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน ฉีดไฮโดรคอร์ติโซน เข้าหลอดเลือดดำ
- ภาวะช็อกจากอาการแพ้ ฉีดอะดรีนาลิน ไดเฟนไฮดรามีน รานิทิดีน และเมทิลเพร็ดนิโซโลน เข้าหลอดเลือดดำ
- ถ้ามีเลือดออก รีบห้ามเลือดให้หยุด
- ถ้ามีไข้สูง ให้เช็ดตัวด้วยน้ำเย็น
- ถ้ามีรอยฟกช้ำที่สงสัยกระดูกหัก ให้ตรึงส่วนนั้นไว้ไม่ให้เคลื่อนไหว