2. โรคซึมเศร้าชนิดอ่อน (dysthymic disorder) เป็นภาวะซึมเศร้าที่มีอาการไม่รุนแรง แต่เรื้อรัง (นานอย่างน้อย 2 ปี) ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ เพียงแต่มีศักยภาพลดลง พบในเด็กโตและวัยรุ่น ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า แต่บางรายอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าหลักในเวลาต่อมาได้
3. โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder หรือ manic-depressive disorder) เป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ มักพบเป็นครั้งแรกในช่วงอายุ 15-24 ปี ผู้ป่วยจะมีระยะฟุ้งพล่าน (mania) สลับกับระยะซึมเศร้า เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ในระยะฟุ้งพล่าน ผู้ป่วยจะอารมณ์ดี ครื้นเครง ความคิดแล่นเร็ว มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงหรือหลงตัวเอง พูดมาก หงุดหงิดง่าย ทำกิจกรรมหลายอย่างมากกว่าปกติ นอนน้อย การรักษาในยาลิเทียม (lithium) ควบคุมอาการ
4. ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากโรคทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อยหรือมากเกิน โรคคุชชิง โรคแอดดิสัน พาร์กินสัน เอสแอลดี เอดส์ เป็นต้น โรคเหล่านี้อาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย หญิงหลังคลอดบางรายก็อาจมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นชั่วคราวได้
5. ภาวะซึมเศร้าจากแอลกอฮอล์ สารเสพติด และยา เช่น รีเซอร์ฟีน เมทิลโดพา โพรพราโนลอล สเตียรอยด์ ยาแก้ชัก ยานอนหลับ เมโทโคลพาไมด์ อินโดเมทาซิน เลโวโดพา ยารักษามะเร็งบางชนิด เป็นต้น
6. ภาวะซึมเศร้าจากความเครียดหรือปัญหาชีวิต เช่น การหย่าร้าง การสูญเสียคนรัก ความล้มเหลว ปัญหาสุขภาพ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจ็บป่วยร้ายแรง หรือเรื้อรัง) เป็นต้น มักจะมีอาการไม่รุนแรง และค่อย ๆ ดีขึ้นในเวลาไม่นาน แต่บางครั้งผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลักก็อาจมีความเครียดหรือปัญหาชีวิตกระตุ้นให้กำเริบก็ได้ ซึ่งจะเป็นรุนแรงและเรื้อรัง
- พบแพทย์เป็นประจำตามนัด และกินยาอย่างต่อเนื่อง อย่าปรับยาหรือหยุดยาเองจนกว่าแพทย์จะแนะนำ การรักษาด้วยยาอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ไปแล้วกว่าจะเห็นผล
- สามารถดำเนินชีวิตตามปกติ อย่าแยกตัวออกจากผู้อื่น การมีญาติหรือเพื่อนช่วยดูแลช่วยเหลือ มีส่วนช่วยให้อาการทุเลาได้
- ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงการเสพเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสารเสพติด