อาจมีผลต่อจิตใจ เช่น ความวิตกกังวล เบื่องาน แยกตัวจากสังคม เสียสมาธิ กระทบต่อการงานหรือการเรียน
การตรวจร่างกายมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน
บางรายอาจพบอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อหรือจุดที่กดเจ็บในบริเวณรอบ ๆ ศีรษะ ท้ายทอย หลังคอ หรือไหล่
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคปวดศีรษะจากความเครียด
- ปวดแบบตื้อ ๆ หนัก ๆ หรือบีบรัด ไม่ปวดตุบ ๆ
- รุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง (ไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรประจำวัน)
- ปวดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
- ไม่ปวดมากขึ้นเวลาขึ้นบันได หรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- ไม่มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน
- ไม่มีอาการกลัวแสง และกลัวเสียง หรือมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
1. แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว และให้ยาแก้ปวด หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
ถ้ามีอาการนอนไม่หลับ ให้ยานอนหลับ กินก่อนนอน
ในรายที่มีความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า ก็ให้การดูแลรักษาแบบเดียวกับโรคกังวลทั่วไป หรือโรคซึมเศร้า
2. ถ้าปวดรุนแรง ปวดถี่หรือปวดแรงขึ้นทุกวัน ปวดมากตอนดึกหรือเช้ามืดจนทำให้สะดุ้งตื่น เป็น ๆ หาย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือสงสัยว่าอาจมีสาเหตุร้ายแรง แพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด เช่น ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
3. ถ้าเป็นโรคปวดศีรษะจากความเครียดที่ดื้อต่อยาแก้ปวด แพทย์อาจให้การรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น กายภาพบำบัด เทคนิคการผ่อนคลาย (relaxation technique) จิตบำบัด การกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้า (TENS) การฉีดสารโบทูลิน (มีชื่อการค้า เช่น Botox) การฝังเข็ม เป็นต้น
4. ในรายที่มีอาการกำเริบ มากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ และแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3-4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก แพทย์อาจพิจารณาให้กินยาป้องกัน ได้แก่ อะมิทริปไทลีน,ฟลูออกซีทีน หรือ โทพิราเมต ติดต่อกันนาน 1-3 เดือน
- นอนหลับหรือนั่งผ่อนคลายอารมณ์สักพักหนึ่ง นวดต้นคอและขมับด้วยมือหรือทานวดด้วยยาหม่อง ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น
- กินยาแก้ปวด - พาราเซตามอล* หรือยาที่แพทย์แนะนำ
- ปวดศีรษะรุนแรง เวียนศีรษะมาก อาเจียนมาก หรือมีไข้สูง
- ปวดถี่หรือปวดแรงขึ้นทุกวัน ปวดมากตอนดึกหรือเช้ามืดจนทำให้สะดุ้งตื่น
- มีอาการตาพร่ามัวไม่หาย หรือ ตาเห็นภาพซ้อน
- แขนขาชา อ่อนแรง เดินเซ หรือ ชักกระตุก
- มีความคิดฟุ้งซ่าน อารมณ์เครียดหรือซึมเศร้า หรือนอนไม่หลับ
- มีประวัติการแพ้ยา สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือมีโรคตับ โรคไต หรือประจำตัวอื่น ๆที่มีการใช้ยาหรือแพทย์นัดติดตามการรักษาอยู่เป็นประจำ
- หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
- ดูแลตนเอง 1 สัปดาห์แล้วไม่ทุเลา
- มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอน
- อย่าคร่ำเคร่งกับการงานจนเกินไป ควรพักทำงานเป็นระยะ ๆ
- หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า ถ้าทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออ่านเอกสารหนังสือ ควรนั่งในท่าที่เหมาะสม ควรพักสายตาและเคลื่อนไหวหรือบริหารกล้ามเนื้อคอเป็นครั้งคราว
- อย่าปล่อยให้หิว หรือกินอาหารผิดเวลา
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น สวดมนต์ ทำสมาธิ ฝึกโยคะ รำมวยจีน ฟังเพลง เป็นต้น