แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก ซึ่งมีสิ่งตรวจพบดังนี้
ขณะที่มาพบแพทย์ เด็กมักจะหายชักแล้ว แต่บางรายอาจมีอาการชักซ้ำให้เห็น
ส่วนมากมักจะมีไข้สูงและพบอาการของโรคที่พบร่วม
1. ถ้าพบเด็กขณะมีอาการชัก ให้ถอดเสื้อผ้าเด็กออกแล้วใช้ผ้าชุบน้ำก๊อกโปะทั้งตัว เปลี่ยนผ้าชุบน้ำใหม่ทุก 2 นาที ถ้าชักนานเกิน 5 นาที แพทย์จะให้ไดอะซีแพมฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือเหน็บทางทวารหนัก
ถ้าไม่หยุดชัก หรือมีอาการซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรืออาเจียนมาก แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ในรายที่สงสัยเป็นโรคติดเชื้อทางสมอง อาจต้องทำการเจาะหลัง และตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม
ควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันที ถ้าเด็กมีอาการชักนานเกิน 5 นาที ชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง หรือมีอาการซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรืออาเจียนมาก หรือพบอาการชักในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนหรือมากกว่า 5 ปี
เมื่อตรวจพบว่าเป็นอาการชักจากไข้ (โดยไม่มีความผิดปกติของสมอง) ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
- มีอาการซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือชักซ้ำ
- อาเจียน กินอาหารไม่ได้ และดื่มน้ำได้น้อย
- มีอาการที่สงสัยว่าเป็นผลข้างเคียงจากยาหรือแพ้ยา
- จับเด็กนอนหงาย โดยตะแคงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือจับเด็กนอนตะแคง พร้อมกับเชยคางขึ้นเล็กน้อย ควรให้นอนบนพื้นที่โล่งและปลอดภัย ระวังอย่าให้พลัดตกหรือกระทบกระแทกถูกสิ่งกีดขวาง
- ถ้ามีน้ำลาย เสมหะ หรือเศษอาหารในบริเวณปากหรือใบหน้า ควรเช็ดหรือดูดออก เพื่อไม่ให้เด็กสำลัก
- ถอดหรือปลดเสื้อผ้าให้หลวม แล้วรีบใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวเพื่อลดไข้
- เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด สังเกตลักษณะการชักและจับระยะเวลาของการชัก เพื่อแจ้งให้แพทย์หรือผู้ที่ให้การรักษาทราบในภายหลัง
- ถ้ามียาเหน็บแก้ชักที่แพทย์สั่งให้สำรองไว้ใช้ ให้รีบทำการเหน็บทวารเด็กตามคำแนะนำของแพทย์
- อย่าผูกหรือมัดตัวเด็ก หรือใช้แรงฝืนหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของเด็ก
- อย่าใช้วัตถุ (เช่น ไม้ ด้ามช้อน ปากกา ดินสอ) สอดใส่ปากเด็ก อาจทำให้ปากและฟันได้รับบาดเจ็บได้
- อย่าป้อนอาหาร ยา หรือน้ำให้เด็กระหว่างชัก หรือหลังชักใหม่ ๆ อาจทำให้เด็กสำลักได้
- ถ้ามีไข้สูง ใช้ผ้าชุบน้ำจากก๊อกประปาหรือน้ำอุ่นเช็ดตัวเพื่อลดไข้
- ควรนำเด็กส่งสถานพยาบาลใกล้บ้านทันที ถ้าเด็กมีอาการชักนานเกิน 5 นาที หรือเป็นการชักครั้งแรก (แม้ว่าจะชักเพียงช่วงสั้น ๆ ก็ตาม) หรือมีอาการอาเจียน ซึม หรือหายใจลำบาก
- ทุกครั้งที่เด็กเริ่มมีไข้ ควรให้ยาลดไข้-พาราเซตามอลทันที ควรเช็ดตัวเด็กด้วยน้ำบ่อย ๆ ไม่ควรให้เด็กใส่เสื้อผ้าหนา ๆ หรือห่มผ้าหนา เพราะจะทำให้ตัวร้อนยิ่งขึ้น
- กินยากันชักตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งในปัจจุบันแพทย์จะพิจารณาให้ยากันชัก เช่น ฟีโนบาร์บิทาล โซเดียมวาลโพรเอต (sodium valproate) เป็นต้น เฉพาะสำหรับเด็กบางรายที่มีข้อบ่งชี้ เช่น มีความผิดปกติของสมองหรือโรคลมชักร่วมด้วย โดยจะให้กินอย่างต่อเนื่องทุกวันนานเป็นแรมปี บางรายอาจให้ทานหลายปี
ส่วนอาการชักจากไข้ที่ไม่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการชักจากไข้ชนิดสามัญ แพทย์จะหลีกเลี่ยงการใช้ยากันชักโดยไม่จำเป็น เนื่องเพราะยากันชักทุกชนิดมีผลข้างเคียงซึ่งอาจมีโทษต่อเด็กมากกว่าอันตรายจากตัวโรคเอง
- ชักครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 18 เดือน
- ระยะมีไข้นำมาก่อนชัก ถ้ายิ่งสั้นมีความเสี่ยงต่อการชักซ้ำยิ่งสูง
- มีประวัติโรคลมชัก หรืออาการชักจากไข้ในครอบครัว
- มีอาการชักขณะไข้ไม่สูงมาก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการชักซ้ำสูงกว่าเด็กที่ชักขณะมีไข้สูง