บาดทะยัก เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง ซึ่งยังพบได้เป็นครั้งคราวในบ้านเรา พบได้ในคนทุกวัย ส่วนมากจะมีประวัติมีบาดแผลตามร่างกาย (เช่น ตะปูตำ หนามเกี่ยว มีบาดแผลสกปรก หรือขาดการดูแลที่ถูกต้อง) และผู้ป่วยไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน
ระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยจะมีอาการขากรรไกรแข็ง (lockjaw) เนื่องจากกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว หดเกร็ง และแข็งตัว ทำให้มีอาการขยับปากไม่ได้ ทำท่าเหมือนยิ้มแสยะ กลืนลำบาก
อาจพบอาการขาดออกซิเจนขณะชัก อาการขาดอาหารเพราะกลืนไม่ได้ ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้ เนื่องจากการแข็งตัวของกล้ามเนื้อหูรูด ปอดอักเสบ ปอดแฟบ (atelectasis) ปอดทะลุ กระดูกสันหลังหักจากการชัก
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก ซึ่งมักตรวจพบอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ ใบหน้ามีลักษณะเหมือนยิ้มแสยะ (อาจมีกลิ่นปากถ้าเป็นมาหลายวัน) คอแข็ง หลังแอ่น และอาการชักเกร็งเป็นพัก ๆ เวลาถูกสิ่งกระตุ้น
แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ให้การรักษาตามอาการและรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำ เกลือแร่ และอาหาร ให้ยากันชัก (เช่น ไดอะซีแพม) ใส่ท่อหายใจ (บางรายอาจต้องเจาะคอ) และใช้เครื่องช่วยหายใจ ดูแลรักษาบาดแผล เป็นต้น
หากสงสัย เช่น มีอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ ใบหน้ามีลักษณะเหมือนยิ้มแสยะ คอแข็ง หลังแอ่น และอาการชักเกร็งเป็นพัก ๆ เวลาถูกสิ่งกระตุ้น (เช่น แสง เสียง การสัมผัสถูกตัว) ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
1. ฉีดวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP) ตั้งแต่อายุได้ 2 เดือน ถ้าไม่เคยฉีดตอนเด็ก ควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักให้ครบตามกำหนด และควรฉีดกระตุ้นทุก ๆ 10 ปี
1. ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบาดทะยักเฉพาะที่ คือมีอาการหดเกร็งและแข็งตัวของกล้ามเนื้อใกล้บริเวณบาดแผล มักเกิดจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงและหายไปได้เอง แต่ในบางรายก็อาจมีอาการกระจายไปทั่วร่างกายก็ได้