- กระเพาะส่วนปลายตีบแต่กำเนิด (congenital pyloric stenosis) มักพบในช่วงอายุ 2-8 สัปดาห์
- ลำไส้กลืนกันเอง (intussusception) เป็นภาวะที่พบได้น้อย อาจพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบมากในทารกอายุประมาณ 6 เดือน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
*มีรายงานผู้ป่วยมีภาวะลำไส้อุดกั้นและทะลุจากการกินเมล็ดกระท้อน (ซึ่งมีขนาดใหญ่และปลาย 2 ข้างแหลมคม) มักพบในคนอายุมากกว่า 50 ปี ในฤดูกระท้อน (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) ดังนั้น จึงควรแนะนำประชาชนให้หลีกเลี่ยงการกินเมล็ดกระท้อน
ถ้าไม่ได้รับการรักษามักทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ช็อก ลำไส้เน่าและทะลุ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ โลหิตเป็นพิษ
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการและสิ่งตรวจพบ (ดังกล่าวในหัวข้อ “อาการ”) และจะวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการกินเมล็ดผลไม้ที่อาจทำให้ลำไส้อุดกั้น เช่น เมล็ดกระท้อน
- ถ้าเป็นโรคแผลเพ็ปติก ควรดูแลรักษาอย่างจริงจัง อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
- ถ้าเป็นไส้เลื่อน ควรติดตามรักษากับแพทย์ และรับการผ่าตัดตามที่แพทย์แนะนำ
ผู้ที่มีประวัติผ่าตัดช่องท้องมาก่อน (เช่น ผ่าตัดคลอด ผ่าตัดไส้ติ่ง) และผู้ที่เป็นไส้เลื่อนที่ยังไม่ได้ผ่าตัดแก้ไข หากมีอาการปวดท้องและอาเจียนรุนแรง หรือเป็นติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมง หรือทารกมีอาการถ่ายเป็นมูกปนเลือดคล้ายเยลลี่ร่วมกับปวดท้อง อาเจียน ควรสงสัยว่าอาจมีภาวะกระเพาะลำไส้อุดกั้นแทรกซ้อน ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว