- ประวัติการมีญาติพี่น้องเป็นแผลเพ็ปติก (อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์) ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้นเป็น 3 เท่า
- การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสของการเป็นแผลลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้การรักษาได้ผลช้า และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น
- ผู้ที่มีเลือดกลุ่มโออาจเสี่ยงต่อการเป็นแผลลำไส้เล็กส่วนต้นมากกว่าปกติ
- ความเครียดทางอารมณ์ ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าเป็นสาเหตุของการเกิดแผลเพ็ปติกโดยตรงแต่พบว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เป็นแผลกำเริบได้
- แผลลำไส้เล็กส่วนต้น ยังอาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperparathyroidism ซึ่งจะมีภาวะแคลเซียมสูง และแคลเซียมกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมาก) กลุ่มอาการซอลลิงเกอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison syndrome ซึ่งเป็นเนื้องอกในตับอ่อนและลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้มีการหลั่งกรดและน้ำย่อยมากเกิน) ภาวะไตวายเรื้อรัง ตับแข็งจากพิษแอลกอฮอล์ ถุงลมปอดโป่งพอง เป็นต้น
- แอลกอฮอล์ (ซึ่งเป็นสาเหตุของกระเพาะอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน ทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร) สเตียรอยด์ และกาเฟอีน ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นสาเหตุของแผลเพ็ปติกโดยตรง แต่ก็อาจทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เป็นแผลกำเริบได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้ในผู้ป่วยแผลเพ็ปติก
- อาหารทุกชนิดไม่เป็นสาเหตุโดยตรงของการเกิดแผลเพ็ปติก แต่ถ้ากินแล้วทำให้มีอาการกำเริบ (เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้ำส้ม น้ำผลไม้) ก็ควรจะหลีกเลี่ยง
- ยาลดการสร้างกรดกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊มป์ นาน 6-8 สัปดาห์ ร่วมกับ
- ยาปฏิชีวนะ 2-4 ชนิดร่วมกัน นาน 10-14 วัน เช่น เมโทรไนดาโซล คลาริโทรไมซิน (clarithromycin) อะม็อกซีซิลลิน เตตราไซคลีน บิสมัทซับซาลิไซเลต (bismuth subsalicylate)
2.2 แผลเพ็ปติกที่ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไพโลไร เป็นแผลเพ็ปติกที่ตรวจไม่พบการอักเสบจากเชื้อเอชไพโลไร อาจมีสาเหตุจากการใช้ยาแอสไพริน หรือกลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ให้การรักษาด้วยยาลดการสร้างกรดกลุ่มโปรตอนปั๊มป์ นาน 4 สัปดาห์ (สำหรับแผลลำไส้เล็กส่วนต้นที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน) หรือนาน 6-8 สัปดาห์ (สำหรับแผลกระเพาะอาหาร หรือแผลเพ็ปติกที่มีภาวะแทรกซ้อน)
- ถ้าเสียเลือดมากอาจต้องให้เลือด แล้วทำการตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
- กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ อย่าปล่อยให้หิว
- งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มกาเฟอีน น้ำอัดลม
- หลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์
- อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้ำส้ม น้ำผลไม้ ถ้ากินแล้วมีอาการปวดท้องกำเริบ ควรงดจนกว่าจะหายดี
- ออกกำลังกายเป็นประจำ และหาวิธีผ่อนคลายความเครียด (ถ้าเครียด)
ผู้ป่วยที่กินยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลเพ็ปติก (เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องใช้ยานี้ในขนาดสูงหรือนาน ๆ หรือใช้ร่วมกับยาสเตียรอยด์ ผู้ที่เคยเป็นแผลเพ็ปติกมาก่อน เป็นต้น) แพทย์จะให้กินยาลดการสร้างกรดป้องกันควบคู่ด้วย