โรคกรดไหลย้อน (น้ำย่อยไหลกลับ เกิร์ด ก็เรียก) หมายถึงภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนขึ้นไประคายเคืองต่อหลอดอาหารและลำคอ
- การกินอิ่มมากไป กระตุ้นให้มีน้ำย่อยหลั่งออกมามาก
- การนอนราบ การนั่งงอตัว โค้งตัวลงต่ำทำให้น้ำย่อยไหลย้อนง่ายขึ้น
- ภาวะอ้วน การตั้งครรภ์ การรัดเข็มขัดแน่นหรือใส่กางเกงคับเอว จะเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหารทำให้น้ำย่อยไหลย้อน
- การดื่มแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีน (ชา กาแฟ ยาชูกำลังเข้าสารกาเฟอีน) นอกจากกระตุ้นให้น้ำย่อยหลั่งมากแล้ว ยังเสริมให้หูรูดหย่อนคลายอีกด้วย
- การสูบบุหรี่ การกินอาหารมัน อาหารผัดหรือทอดอมน้ำมัน อาหารเผ็ดจัด หัวหอม กระเทียม ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ น้ำอัดลม น้ำผลไม้เปรี้ยว (เช่น น้ำส้มคั้น) ผลไม้เปรี้ยว ช็อกโกแลตหรือสะระแหน่ การใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาขยายหลอดลม ยาแอนติโคลิเนอร์จิก ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นบีตาและกลุ่มต้านแคลเซียม ยาทางจิตประสาท ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน เป็นต้น) จะเสริมให้หูรูดหย่อนคลายหรือน้ำย่อยหลั่งมากขึ้น
- การมีไส้เลื่อนกะบังลม (hiatal hernia/diaphragmatic hernia ซึ่งมีกระเพาะอาหารบางส่วนไหลเลื่อนลงไปที่กะบังลม) ขนาดใหญ่ จะทำให้หูรูดอ่อนแอมากยิ่งขึ้น
- โรคหืด เชื่อว่าเป็นผลมาจากการไอและหอบ ทำให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องจึงเกิดภาวะกรดไหลย้อน รวมทั้งการใช้ยาขยายหลอดลมก็มีส่วนทำให้หูรูดหย่อน
- เบาหวาน เมื่อเป็นนาน ๆ มีการเสื่อมของประสาทกระเพาะ ทำให้กระเพาะอาหารขับเคลื่อนช้า จึงมีกรดไหลย้อนได้
- แผลเพ็ปติก แผลหรือรอยแผลเป็นที่ปลายกระเพาะอาหาร การใช้ยากลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น หรือยาแอนติโคลิเนอร์จิก ทำให้อาหารขับเคลื่อนสู่ลำไส้ช้าลง ทำให้มีกรดไหลย้อนได้
*ทารกอาจเป็นโรคกรดไหลย้อนตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารยังเจริญไม่เต็มที่ มักมีอาการร้องกวน งอแง อาเจียนบ่อย ไอบ่อยตอนกลางคืน เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงวี้ด เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวไม่ขึ้น บางรายอาจสำลักน้ำย่อยเข้าปอดทำให้ปอดอักเสบ ซึ่งอาจกำเริบได้บ่อย อาการมักจะหายเมื่ออายุ 6-12 เดือน แต่บางรายอาจรอจนถึงเข้าสู่วัยรุ่น จึงจะดีขึ้น ในเด็กโตมักมีอาการคล้ายที่พบในผู้ใหญ่
- ลดน้ำหนักตัว (ถ้าน้ำหนักเกิน)
- สังเกตว่าบริโภคสิ่งใดบ้างที่ทำให้อาการกำเริบ แล้วพยายามหลีกเลี่ยง เช่น อาหารมัน (รวมทั้งข้าวผัดของผัดที่อมน้ำมัน) อาหารเผ็ดจัด แอลกอฮอล์ บุหรี่ ชา กาแฟ เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน น้ำอัดลม น้ำผลไม้เปรี้ยว ผลไม้เปรี้ยว ซอสมะเขือเทศ ช็อกโกแลต หัวหอม กระเทียม สะระแหน่ ยาบางชนิด (เช่น ยาขยายหลอดลม ยาแอนติโคลิเนอร์จิก ยาต้านแคลเซียม ยาทางจิตประสาท)
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารปริมาณมากและการดื่มน้ำมาก ๆ ระหว่างกินอาหาร ควรกินอาหารมื้อเย็นปริมาณน้อย และทิ้งช่วงห่างจากเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
- หลังกินอาหารควรปลดเข็มขัดและตะขอกางเกงให้หลวม ไม่ควรนอนราบ หรือนั่งงอโค้งตัวลงต่ำ ควรนั่งตัวตรง ยืน หรือให้รู้สึกสบายท้อง หลีกเลี่ยงการยกของหนักและการออกกำลังกาย
- หมั่นออกกำลังกายและผ่อนคลายความเครียด เนื่องเพราะความเครียด มีส่วนทำให้หลั่งกรดมากขึ้น อาจทำให้อาการกำเริบได้
- ถ้ามีอาการกำเริบตอนเข้านอน ควรหนุนศีรษะสูง 6-10 นิ้ว โดยการหนุนขาเตียงด้านศีรษะให้สูงหรือใช้อุปกรณ์พิเศษสอดใต้ที่นอนให้เอียงลาดจากศีรษะลงมาถึงระดับเอว หรือใช้เตียงนอนที่มีกลไกปรับหัวเตียงให้สูงได้ ไม่แนะนำให้ใช้วิธีหนุนหมอนให้สูง (อาจทำให้ท้องโค้งงอความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น)
4. ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เจ็บหน้าอกเวลากลืนอาหาร กลืนลำบาก หายใจลำบาก เจ็บหน้าอกรุนแรง ปวดท้องมาก อาเจียน อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ ซีด ตาเหลือง คลำได้ก้อนในท้อง กินยารักษา 2 สัปดาห์แล้วไม่ดีขึ้น หรือ มีอาการผิดสังเกตที่สงสัยว่าเกิดจากผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ (เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปากแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินหรือท้องผูก เป็นต้น)