อาหารไม่ย่อย หมายถึง อาการไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ ที่เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังกินอาหาร โดยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว คลื่นไส้ หรืออาเจียนเล็กน้อย เป็นต้น อาการจะเป็นเฉพาะบริเวณระดับเหนือสะดือ จะไม่มีอาการปวดท้องในส่วนใต้สะดือ และไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายร่วมด้วย อาการนี้พบได้เกือบทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ บางรายเป็นครั้งคราว บางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาจมีสาเหตุได้หลากหลาย ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงโรคที่รุนแรงหรือร้ายแรง และความผิดปกติ (พยาธิสภาพ) อาจอยู่ทั้งในและนอกกระเพาะลำไส้
มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นตามโรคที่เป็นสาเหตุ
- กินยาลดการสร้างกรด 2-3 ครั้งแล้วยังไม่รู้สึกทุเลาแม้แต่น้อย หรือทุเลาแล้วแต่กินยาจนครบ 2 สัปดาห์แล้วรู้สึกไม่หายดี หรือมีอาการกำเริบซ้ำหลังจากหยุดกินยาจนครบ 8 สัปดาห์แล้ว
- มีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลด ซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต คลำได้ก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ
- พบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
- สงสัยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือนิ่วน้ำดี
- กินยา 2-3 ครั้งแล้วไม่ทุเลา
- มีอาการต่อเนื่องนานเกิน 2-3 ชั่วโมง หรือเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย
- มีประวัติกินยาแก้ปวด ยาแก้ปวดข้อ หรือยาชุด หรือดื่มสุรา เป็นประจำ
- มีประวัติเป็นโรคแผลเพ็ปติก โรคกรดไหลย้อน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูงมาก่อน
- มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจหวิวใจสั่น หน้ามืด ปวดท้องรุนแรง เบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลด ซีด ตาเหลือง อาเจียนรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ หรือคลำได้ก้อนในท้อง
- พบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
- พบในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่
- มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง
*เพื่อความปลอดภัย ควรขอคำแนะนำวิธีและขนาดยาที่ใช้ ผลข้างเคียงของยา และข้อควรระวังในการใช้ยา จากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก สตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวหรือมีการใช้ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งใช้อยู่เป็นประจำ
- งดบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มกาเฟอีน ช็อกโกแลต น้ำอัดลม และหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
- กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ อย่ากินอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารมัน ของดอง หรืออาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือย่อยยาก ควรกินอาหารเย็นก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป
- ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่ารีบเร่ง อย่ากินจนอิ่มมากเกินไป
- หลังกินอาหารอิ่มอย่าล้มตัวลงนอน หรืออยู่ในท่าก้มงอตัว และอย่ารัดเข็มขัดแน่น
- ถ้าน้ำหนักมากควรลดน้ำหนัก
- ถ้าเครียดควรออกกำลังกายเป็นประจำ หรือหาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ ภาวนา ตามหลักศาสนาที่นับถือ หรือดูภาพยนตร์ ฟังเพลง เล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ ทำงานอดิเรกหาความบันเทิงใจ