ในบ้านเรา แบ่งมะเร็งตับออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. มะเร็งเซลล์ตับ (hepatoma/hepatocellular carcinoma/HCC) หมายถึง มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่อยู่ในเนื้อตับ พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ มักพบในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี (ทั้งที่เป็นพาหะและผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง) ผู้ป่วยตับแข็ง ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด และผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเซลล์ตับ
2. มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma/CCC) หมายถึง มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่บุภายในท่อน้ำดีส่วนที่อยู่ภายในตับ (biliary tree) พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบมากที่สุดทางภาคอีสาน* เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้มักพบร่วมกับโรคพยาธิใบไม้ตับ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งเซลล์ตับ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ภาวะไขมันสะสมในตับหรือไขมันเกาะตับ (fatty liver) การสูบบุหรี่ การได้รับฮอร์โมนเพศชายเป็นเวลานาน การได้รับสารเคมีอันตรายจากยากำจัดวัชพืช เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบจากไวรัส ภาวะท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง นิ่วในท่อน้ำดี ท่อน้ำดีโป่งพอง ความผิดปกติของระบบทางเดินน้ำดีโดยกำเนิด โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคอ้วน เบาหวาน การสูบบุหรี่ การบริโภคแอลกอฮอล์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งเสมอไป กล่าวคือผู้ที่เป็นมะเร็ง อาจไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจนหรือมีเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ คนก็ไม่ได้กลายเป็นมะเร็งตามมา
- รักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามการรักษากับแพทย์ตามนัด
- หลีกเลี่ยงการซื้อยามากินเอง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช โปรตีนที่มีไขมันน้อย (เช่น ปลา ไข่ขาว เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง)
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหาทางผ่อนคลายความเครียด
- ออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งงานอดิเรกที่ชอบ และงานจิตอาสา เท่าที่ร่างกายจะอำนวย
- ทำสมาธิ เจริญสติ หรือสวดมนต์ภาวนาตามหลักศาสนาที่นับถือ
- ถ้ามีโอกาสควรหาทางเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน หรือกลุ่มมิตรภาพบำบัด
- ผู้ป่วยและญาติควรหาทางเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วย ยอมรับความจริง และใช้ชีวิตในปัจจุบันให้ดีและมีคุณค่าที่สุด
- ถ้าหากมีเรื่องวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและวิธีบำบัดรักษา รวมทั้งการแสวงหาทางเลือกอื่น (เช่น การใช้สมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน การนวด ประคบ การฝังเข็ม การล้างพิษ หรือวิธีอื่น ๆ) ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ และทีมสุขภาพที่ดูแลประจำและรู้จักมักคุ้นกันดี
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- มีอาการไม่สบายหรืออาการผิดปกติ เช่น มีไข้ อ่อนเพลียมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ชัก แขนขาชาหรืออ่อนแรง ซีด มีเลือดออก ปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน เบื่ออาหารมาก กินไม่ได้ ดื่มน้ำไม่ได้ เป็นต้น
- ขาดยาหรือยาหาย
- ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
2. ไม่สูบบุหรี่
3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
7. หาทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ทางเลือดหรือทางเพศสัมพันธ์ และควรตรวจเช็กสุขภาพโดยการตรวจเลือด ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ควรทำการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันโรคตับแข็งและมะเร็งตับ