- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี จนกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
- การดื่มแอลกอฮอล์จัดติดต่อกันเป็นเวลานาน (เป็นแรมปี) ยิ่งดื่มมากยิ่งเสี่ยงมาก และผู้หญิงที่ดื่มสุรามีความเสี่ยงที่จะเป็นตับแข็งมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญแอลกอฮอล์แตกต่างกันระหว่างชายกับหญิง ทำให้ผู้หญิงรับพิษจากแอลกอฮอล์มากกว่าผู้ชาย
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากภาวะไขมันสะสมในตับ (fatty liver)* การใช้ยาเกินขนาด (เช่น พาราเซตามอล เตตราไซคลีน ไอเอ็นเอช ไรแฟมพิซิน เมโทเทรกเซต AZT) ภาวะขาดอาหาร หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ (เช่น ทาลัสซีเมีย ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ภาวะทางเดินน้ำดีอุดกั้น หรือท่อน้ำดีตีบตัน ตับอักเสบเรื้อรังจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง) หรือจากพิษของสารเคมีบางชนิด (เช่น คลอโรฟอร์ม คาร์บอนเตตราคลอไรด์ สารโลหะหนัก)
ผู้ป่วยมักจะลงเอยด้วยอาการซึม เพ้อ มือสั่น และค่อย ๆ ไม่รู้สึกตัว จนกระทั่งหมดสติ
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย ซึ่งมีสิ่งตรวจพบ ดังนี้
ฝ่ามือแดง มีจุดแดงรูปแมงมุมที่หน้าอก หน้าท้อง จมูก ต้นแขน เท้าบวม ท้องบวม
อาจมีอาการตาเหลืองเล็กน้อยหรือไม่มีก็ได้
อาจมีไข้ต่ำ ๆ ต่อมน้ำลายข้างหู (parotid gland) โตคล้ายคางทูม หรือมีอาการขนร่วง
ในผู้ชายอาจพบอาการนมโตและเจ็บ
อาจคลำตับได้ มีลักษณะค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ
ถ้าเป็นมาก จะพบว่ารูปร่างผอมแห้ง ซีด ท้องโตมาก หลอดเลือดพองที่หน้าท้อง มือสั่น ม้ามโต นิ้วปุ้ม มีจุดแดงจ้ำเขียวตามผิวหนัง
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจเลือด (ทดสอบการทำงานของตับและหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี) อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สแกนตับ
บางรายแพทย์อาจทำการตรวจวัดปริมาณพังผืดในตับ (ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “Transient elastography” โดยการใช้เครื่องอัลตราซาวนด์พิเศษ–“Fibroscan”) หรือทำการตรวจชิ้นเนื้อตับ เป็นต้น
1. ถ้าเป็นตับแข็งในระยะแรกเริ่ม แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้
- ให้การรักษาตามอาการ และบำรุงร่างกายด้วยอาหาร และวิตามินเกลือแร่เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะขาดสารอาหาร (เช่น ถ้ามีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก ก็ให้ยาเม็ดบำรุงโลหิต)
- ข้อสำคัญผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์ต้องงดดื่มโดยเด็ดขาด และหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการใช้ยาที่อาจมีผลกระทบต่อตับ
- ถ้าพบสาเหตุของตับแข็ง ก็ให้บำบัดแก้ไข เช่น ถ้าเกิดจากการดื่มสุราจัด ก็จะทำการบำบัดให้เลิกสุรา ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ก็จะให้ยาต้านไวรัส
- ป้องกันการติดเชื้อด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ
- ถ้ามีอาการบวมหรือท้องมาน (มีน้ำในท้อง) ก็ให้ยาขับปัสสาวะ งดอาหารเค็ม จำกัดปริมาณน้ำที่ดื่ม
- ทำการตรวจกรองมะเร็งตับระยะแรกด้วยการตรวจเลือด (รวมทั้งดูระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด) และการตรวจอัลตราซาวนด์ ทุก 6 เดือน
2. ถ้ามีโรคติดเชื้อ (เช่น ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ) อาการซึม เพ้อ ไม่ค่อยรู้ตัว ไตวาย อาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ แพทย์จะรับตัวไว้ในโรงพยาบาล แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ/ยาต้านไวรัส (ถ้ามีโรคติดเชื้อแบคทีเรีย/ไวรัส) ให้เลือด (ถ้าเสียเลือด) ล้างไต (ถ้ามีภาวะไตวาย) และรักษาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ตรวจพบ
- ห้ามดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันมิให้เซลล์ตับส่วนที่ยังดีอยู่ถูกทำลายมากขึ้น หากเป็นโรคตับแข็งในระยะแรกเริ่ม ก็จะช่วยให้มีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน
- กินอาหารพวกแป้งและของหวาน ผัก ผลไม้สด และอาหารพวกโปรตีนเป็นประจำ ยกเว้นในระยะท้ายของโรค ที่เริ่มมีอาการทางสมองร่วมด้วย จำเป็นต้องลดอาหารพวกโปรตีนลงเหลือวันละ 30 กรัม เพราะอาจสลายตัวเป็นสารแอมโมเนียที่มีผลต่อสมอง
- ถ้ามีอาการบวมหรือท้องมาน ควรงดอาหารเค็ม และห้ามดื่มน้ำเกินวันละ 2 ขวดกลมหรือ 6 ถ้วย (1‚500 มล.)
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสมุนไพรด้วยตัวเอง เพราะอาจมีพิษต่อตับมากขึ้น ถ้าจะใช้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- รักษาร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายตามที่ร่างกายจะอำนวย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หาทางผ่อนคลายความเครียด ไม่สูบบุหรี่ สร้างสุขนิสัยในการป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร (เช่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเข้าไปในที่ ๆ มีคนแออัด หรือมีการระบาดของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่หรือชโลมมือด้วยแอลกอฮอล์ เป็นต้น)
2. ติดต่อรักษากับแพทย์ตามนัด อาจต้องตรวจเลือดและอื่น ๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของโรคเป็นระยะ ๆ
- ถ้ามีอาการไข้ ปวดท้องมาก ซึมมาก เพ้อ อ่อนเพลียมาก กินไม่ได้ อาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดออกตรงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือมีอาการที่ชวนให้รู้สึกวิตกกังวล
- ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ