เกิดจากเชื้ออหิวาต์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า วิบริโอคอเลอรา (Vibrio cholerae) เชื้ออหิวาต์มีอยู่หลายชนิด ตัวก่อโรคที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ ชนิดเอลทอร์ (EI Tor)* กับวิบริโอคอเลอรา O139**
*เริ่มพบในปี พ.ศ. 2504 อยู่ในกลุ่ม วิบริโอคอเลอรา O1 ซึ่งแบ่งเป็นชนิดคลาสสิก (classic ซึ่งเป็นตัวก่อโรคระบาดร้ายแรงมาแต่เดิม) กับเอลทอร์ (ซึ่งก่อโรคที่มีความรุนแรงน้อยลง)
**เริ่มพบในปี พ.ศ. 2535
***ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดง แต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เชื้อมักอยู่ในอุจจาระช่วงสั้น ๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะถูกขับออกหมด ส่วนน้อยที่อาจมีเชื้อในอุจจาระเป็นเวลานาน
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย ซึ่งมักตรวจพบภาวะขาดน้ำตั้งแต่ขนาดเล็กน้อยถึงรุนแรง อาจมีไข้ต่ำ ๆ ในรายที่เป็นรุนแรงจะพบภาวะช็อก หายใจเร็วจากภาวะเลือดเป็นกรด ในเด็กอาจพบว่ามีไข้ ชัก ซึม หรือหมดสติ
1. ในรายที่อาการไม่รุนแรง ไม่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง และยังกินอาหารหรือดื่มน้ำได้ดี ให้การรักษาแบบอาการท้องเดินหรืออาหารเป็นพิษทั่วไป คือให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เก็บอุจจาระส่งเพาะเชื้อ เมื่อทราบผลการตรวจว่าเป็นโรคนี้ หรือสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ เช่น เป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยอหิวาต์ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะกำจัดเชื้ออหิวาต์
2. ในรายที่เป็นรุนแรง เช่น ถ่ายเป็นน้ำรุนแรง อาเจียนรุนแรง กินไม่ได้ หรือมีภาวะขาดน้ำรุนแรง แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล
- แมลงวัน (และบางครั้งแมลงสาบ) เป็นพาหะนำเชื้อ
- มือของผู้ติดเชื้อ หรือมือของคนใกล้ชิดที่ปนเปื้อนเชื้อ (จากการสัมผัสมือของผู้ติดเชื้อ หรือสิ่งของ หรือสภาพแวดล้อมที่มีเชื้อปนเปื้อน) ไปจับต้องอาหารหรือน้ำดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบอาหาร ผู้ให้บริการด้านอาหาร และสมาชิกในครอบครัวที่เป็นพาหะ จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญ เพราะอาจไม่ระวังเนื่องจากไม่มีอาการแสดง
- ปนเปื้อนดินหรือน้ำที่มีเชื้อ รวมทั้งผักผลไม้ที่ปลูกโดยการใส่ปุ๋ยที่ทำจากอุจจาระคน และผักผลไม้ที่ล้างด้วยน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน
3. ติดต่อจากคนสู่คน โดยข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อภายในบ้าน สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพักฟื้น โรงพยาบาล โรงเรียน โรงงาน สถานประกอบการ ค่ายทหาร ค่ายกิจกรรมต่าง ๆ โดยการใช้มือสัมผัสถูกมือของผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสถูกสิ่งของหรือสภาพแวดล้อมที่มีเชื้อปนเปื้อน แล้วนำมือที่เปื้อนเชื้อนั้นสัมผัสปากของตนเองโดยตรง หรือไปเปื้อนถูกอาหารหรือน้ำดื่มอีกต่อหนึ่ง
- การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้ปากสัมผัสถูกทวารหนักหรืออวัยวะเพศของผู้ติดเชื้อ ซึ่งนิยมปฏิบัติในหมู่ชายรักร่วมเพศ การติดเชื้อโดยวิธีนี้อาจเกิดกับเชื้อโรคบางชนิดที่มีระยะของการเป็นพาหะนาน ๆ เช่น เชื้ออะมีบา เชื้อไกอาร์เดีย บิดชิเกลลา เป็นต้น
2. สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ควรนำอุจจาระและสิ่งที่ผู้ป่วยอาเจียนออกมาไปเทใส่ส้วมหรือฝังดินให้มิดชิด อย่าเทตามพื้นหรือลงแม่น้ำลำคลอง ส่วนเสื้อผ้าของผู้ป่วยที่แปดเปื้อนเชื้อ ห้ามนำไปซักในแม่น้ำลำคลอง ควรแช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือนำไปฝังหรือเผาเสีย
3. ในปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะแก่ชุมชนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เนื่องจากไม่ได้ผลและทำให้เชื้อดื้อยา แต่อาจพิจารณาให้ในกลุ่มคนขนาดเล็ก เช่น ในเรือนจำ หรือในชุมชนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกินร้อยละ 20
4. ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันอหิวาต์ชนิดใหม่ในรูปของการกินทางปาก (oral vaccine) ให้ 2 ครั้งห่างกัน 10-14 วัน ซึ่งสามารถใช้ป้องกันได้ผลดี แพทย์จะเลือกใช้ในบางกรณี เช่น ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการระบาดของโรค เป็นต้น
2. สำหรับผู้สัมผัสโรค แพทย์จะทำการเก็บอุจจาระส่งเพาะหาเชื้อ และเฝ้าสังเกตอาการอย่างน้อย 5 วัน ถ้าพบว่าเป็นพาหะก็ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดความรุนแรงของโรค และลดการแพร่กระจายเชื้อ