โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก มักพบในถิ่นที่การสุขาภิบาลยังไม่ดี (เช่น ไม่มีส้วมใช้ ไม่มีน้ำดื่มสะอาด มีแมลงวันชุกชุม) หรือในกลุ่มคนที่ดื่มน้ำไม่สะอาด หรือขาดสุขนิสัยที่ดี
การติดเชื้อมักเกิดได้บ่อยในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพักฟื้นของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจิตเวช และในหมู่ชายรักร่วมเพศ
ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง แต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้คนอื่น
ที่สำคัญ คือ ทำให้ลำไส้มีการดูดซึมที่ผิดปกติ มีอาการท้องเดินเรื้อรัง น้ำหนักลด และขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่เป็นโรคนี้เรื้อรัง จะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโต น้ำหนักน้อย ขาดสารอาหาร ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและพัฒนาการทางสมอง
ถ้ามีอาการถ่ายบ่อย อุจจาระมันเป็นฟอง ลอยน้ำ และมีกลิ่นเหม็นจัด ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเป็นท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และติดตามการรักษากับแพทย์ตามนัด
- ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด
- ถ่ายรุนแรง อาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง หรือดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ได้น้อย (สังเกตพบปัสสาวะออกน้อย และมีสีเข้มอยู่เรื่อย ๆ)
- มีภาวะขาดน้ำค่อนข้างรุนแรง สังเกตพบมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ลิ้นเป็นฝ้าหนา ตาโบ๋ ปัสสาวะออกน้อย
- มีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจหวิวใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว
- มีไข้เกิน 3-4 วัน หรือมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
- หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
- กินยาตามที่แพทย์แนะนำ 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น
- มีความวิตกกังวล
2. อย่าดื่มน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติแบบดิบ ๆ ถึงแม้จะดูใสสะอาดก็ไม่ปลอดภัย ควรต้มน้ำให้สุกก่อนดื่ม (ต้มให้เดือดนานอย่างน้อย 10 นาที) หรือดื่มน้ำขวดที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อแล้ว
3. เวลาเล่นน้ำในสระว่ายน้ำหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรระวังอย่าให้น้ำเข้าปาก
4. กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ
5. สำหรับชายรักร่วมเพศ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การใช้ปากสัมผัสกับทวารหนักหรือองคชาต
2. โรคนี้แม้ไม่ได้ให้ยารักษาก็อาจหายได้เอง ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ การให้ยาปฏิชีวนะจะช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น และลดการแพร่เชื้อ
3. ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หากมีอาการท้องเดินควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัย และรักษาโรคแต่เนิ่น ๆ