อาการสำลักเกิดจาก มีเศษอาหาร ของเหลว (น้ำ เครื่องดื่ม น้ำซุป น้ำแกง น้ำมัน) หรือสิ่งแปลกปลอมหล่นเข้าในทางเดินหายใจส่วนต้น (กล่องเสียง ท่อลม) ทำให้มีอาการไอติด ๆ กัน ช่วยขับดันให้สิ่งที่หล่นลงไปนั้นหลุดออกมา* ซึ่งส่วนใหญ่จะหลุดออกมาได้ จึงมักเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและเป็นชั่วประเดี๋ยวเดียวก็หายเป็นปกติได้
แต่บางรายเศษอาหาร ของเหลว หรือสิ่งแปลกปลอม อาจหล่นลงไปในหลอดลมส่วนล่าง ๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมตีบ) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์
ที่เป็นอันตรายก็คือ ถ้าเป็นอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมที่เป็นชิ้นโตขนาดพอเหมาะ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นก้อนหรือรูปทรงกลม ๆ) อาจทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น (กล่องเสียง) จนสนิท ก็จะทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ได้ ร่างกายและสมองขาดออกซิเจนถึงเสียชีวิตได้ฉับพลันทันทีแบบเดียวกับคนจมน้ำ นับว่าเป็นภาวะฉุกเฉินร้ายแรงที่ต้องให้การช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุทันที
ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอม ส่วนใหญ่มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ชอบเล่นซน และชอบหยิบของเข้าปาก ภาวะนี้ยังพบในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคทางสมองหรือความผิดปกติเกี่ยวกับการกลืน
*ขณะกลืนอาหารหรือของเหลวผ่านตรงคอหอยลงไปในหลอดอาหาร ฝาปิดกล่องเสียงและสายเสียงตรงกล่องเสียง (ที่อยู่ด้านหน้าของหลอดอาหาร) จะเคลื่อนตัวไปปิดกล่องเสียงไม่ให้อาหารหรือของเหลวหลุดลงไปในกล่องเสียงและท่อลม ซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อในช่องคอที่ประสานงานกันได้อย่างเป็นจังหวะลงตัว
เด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งระบบการเคี้ยวและการกลืนยังเจริญได้ไม่ดี) ผู้สูงอายุ (ซึ่งระบบการเคี้ยวและการกลืนมีความผิดปกติเพราะความเสื่อมของร่างกาย) และผู้ที่เป็นโรคทางสมองหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการกลืน จะมีความบกพร่องของกลไกการประสานงานดังกล่าว ทำให้กล่องเสียงปิดไม่มิดหรือปิดไม่ได้จังหวะที่อาหารหรือของเหลวผ่านลงมา หรืออาจเกิดจากการพูดคุยหรือหัวเราะขณะกลืนอาหารหรือของเหลว เพราะเวลาพูดหรือหัวเราะ ฝาปิดกล่องเสียงก็จะเปิดขึ้น
ภาวะเหล่านี้เป็นเหตุทำให้มีเศษอาหารหรือของเหลวหล่นลงไปในกล่องเสียงและท่อลมได้ ทำให้เกิดอาการสำลัก
ทางเดินหายใจอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอม มักเกิดจากการสำลักอาหาร (เช่น เนื้อสเต๊ก หมูปิ้ง เป็ดย่าง ไส้กรอก ลูกชิ้น เศษกระดูก ขนมปัง ขนมเข่ง ขนมโมจิ เยลลี หมากฝรั่ง ลูกอม ลูกกวาด ขนมเหนียว ๆ ลื่น ๆ เป็นต้น) ผลไม้ที่มีเมล็ด (เช่น เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ พุทรา) หรือยาเม็ดโต ๆ ซึ่งมักพบในเด็กเล็กที่กินอาหารไปวิ่งเล่นไป ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคทางสมอง (เช่น อัมพาต สมองเสื่อม สมองพิการ โรคพาร์กินสัน) หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการกลืน ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด หรือกินยานอนหลับ รวมทั้งผู้ป่วยที่หมดสติหรือชัก ก็อาจสำลักเศษอาหารลงไปในทางเดินหายใจได้
นอกจากนี้ เด็กเล็กที่เล่นซนหรือมีความอยากรู้อยากลอง ชอบหยิบของอมในปาก สิ่งของที่อมนั้น เช่น เหรียญสตางค์ ยางลบดินสอ กระดุม ลูกอม ลูกกวาด หมากฝรั่ง ลูกปัด ลูกแก้ว ชิ้นส่วนของเล่น ผลไม้หรือเมล็ดพืช (เช่น ถั่วลิสง ละมุด น้อยหน่า มะขาม ป๊อปคอร์น องุ่น มะเขือเทศลูกเล็ก ๆ ผักหรือผลไม้ชิ้นใหญ่ เป็นต้น) อาจตกเข้าไปอุดกั้นในทางเดินหายใจได้
อาการและความรุนแรงขึ้นกับตำแหน่งที่สิ่งแปลกปลอมอุดกั้น
ถ้าสิ่งแปลกปลอมมีขนาดใหญ่จนปิดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์ (สนิท) ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจติดขัด หรือไม่สามารถหายใจได้ ไอไม่ออก พูดไม่ออก ร้องไม่ออก หน้าเขียว เล็บเขียว และมักใช้มือกุมที่ลำคอ (เพื่อแสดงว่ามีอะไรติดที่คอหอย) อาการหายใจไม่ได้ ทำให้ร่างกายและสมองจะขาดออกซิเจน หากปล่อยไว้นานกว่า 4 นาที สมองจะตาย ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติ และหากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลช่วยชีวิต ก็อาจเสียชีวิตได้ภายในเวลารวดเร็ว
ถ้าสิ่งแปลกปลอมมีขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถหลุดผ่านกล่องเสียงและท่อลมลงไปติดอยู่ที่หลอดลมข้างใดข้างหนึ่ง (ส่วนมากจะเป็นข้างขวา) ปอดข้างนั้นจะไม่มีลมหายใจผ่านเข้าออก ทำให้ปอดข้างนั้นเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าข้างที่ปกติ
ถ้าสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์ (สนิท) จะตรวจพบอาการหายใจลำบาก หรือไม่สามารถหายใจได้ หน้าเขียว เล็บเขียว ผู้ป่วยใช้มือกุมที่ลำคอ ในรายที่เป็นรุนแรง สมองขาดออกซิเจนอยู่นาน ก็จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการหมดสติ
ถ้าสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจเพียงบางส่วน หรือไม่สนิท จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการไออยู่ติด ๆ กันเรื่อย ๆ อาจพบมีอาการหายใจมีเสียงฮื้ด (stridor)
ถ้าสิ่งแปลกปลอมหล่นลงไปติดอยู่ที่หลอดลมข้างใดข้างหนึ่ง (มักพบอยู่ที่หลอดลมข้างขวา) เมื่อใช้เครื่องฟังตรวจดูจะพบว่าเสียงหายใจของปอดข้างนั้นค่อยลงหรือไม่ได้ยิน หรือมีเสียงวี้ด (wheezing)
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจพิเศษ เช่น เอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้กล้องส่องตรวจกล่องเสียง (laryngoscopy) หรือหลอดลม (bronchoscopy)
1. ในรายที่มีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจเพียงบางส่วน หรือมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในหลอมลมข้างใดข้างหนึ่ง แพทย์จะใช้เครื่องมือทำการคีบเอาสิ่งแปลกปลอมออก และอาจต้องให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการอักเสบในปอด
2. ในรายที่สงสัยมีสิ่งแปลกปลอมติดที่กล่องเสียงอย่างสมบูรณ์ คือ มีอาการหายใจไม่ได้ หน้าเขียว เล็บเขียว จะทำการปฐมพยาบาล ในบางรายอาจจำเป็นต้องทำการเจาะคอ (tracheostomy) ช่วยหายใจ
แพทย์จะรับตัวไว้ในโรงพยาบาล ให้การรักษาแบบประคับประคอง (เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ออกซิเจน ให้น้ำเกลือ) ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อของทางเดินหายใจ แก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการปฐมพยาบาล และเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
ระหว่างนั้นกระตุ้นบอกให้ผู้ป่วยไอไปเรื่อย ๆ อาจช่วยให้สิ่งที่สำลักหลุดออกมาได้ แม้ว่าหลุดออกมาแล้วก็ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมตกลงไปในหลอมลมหรือมีภาวะแทรกซ้อนอะไรหรือไม่
2. ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่ได้ หน้าเขียว ตัวเขียว เล็บเขียว ไอไม่ออก พูดไม่ออก ร้องไม่มีเสียง แสดงท่าใช้มือกุมที่ลำคอ แสดงว่ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจรุนแรง ให้รีบช่วยชีวิตด้วยการลงมือทำการปฐมพยาบาลทันทีพร้อม ๆ กับให้คนช่วยโทรแจ้งหน่วยรับเหตุฉุกเฉิน (โทร.191 หรือ 1669)
การปฐมพยาบาลผู้ที่มีภาวะฉุกเฉินจากการสำลัก
เมื่อพบเด็กหรือผู้ใหญ่มีอาการสำลักอาหาร หรือสิ่งแปลกปลอมติดคอ ถ้ายังไอได้แรง ๆ พูดได้ และหายใจเป็นปกติ ไม่ต้องทำอะไร แต่ควรรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที อย่าพยายามให้ความช่วยเหลือใด ๆ (เช่น ใช้นิ้วล้วงคอเพื่อเอาสิ่งแปลกปลอมออก) เพราะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมเคลื่อนที่ลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นอันตรายได้
วิธีที่ 1
วิธีที่ 2
ข. สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้ทำการช่วยเหลือ ดังนี้
(3) ถ้าไม่ได้ผล จับทารกนอนหงายบนแขนให้ศีรษะต่ำ แล้วใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางวางบนกระดูกลิ้นปี่ แล้วกดหน้าอกลง (สักครึ่งถึง 1 นิ้ว) เร็ว ๆ 5 ครั้ง (ภาพที่ 6)
(4) ถ้าไม่ได้ผล ให้ทำการ "ตบหลัง" 5 ครั้ง สลับกับ "กดหน้าอก" 5 ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุด (ถ้าหมดสติก็ให้การช่วยเหลือดัง "ข้อ 2 กรณีผู้ป่วยหมดสติ")
(3) ตรวจในช่องปาก ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมชัดเจน ให้ใช้นิ้วชี้ค่อย ๆ เขี่ยและเกี่ยวออกมา แต่ต้องระวังอย่าทำแรงหรือลึกเกินไป เพราะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมหลุดลึกเข้าไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักเกิดกับเด็กเล็ก (ภาพที่ 8)
ถ้าสิ่งแปลกปลอมอยู่ลึกเกินไป หรือมองสิ่งแปลกปลอมไม่เห็น ห้ามใช้นิ้วล้วง เพราะจะเกิดอันตรายได้
(4) ให้ทำการช่วยหายใจโดยการเป่าปาก 2 ครั้ง ครั้งละ 1 วินาทีครึ่ง (ภาพที่ 9)
(5) ทำการรัดท้องอัดยอดอก 6-10 ครั้ง ในท่านอนหงาย (สำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 1 ปี) (ภาพที่ 10) หรือทำการตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 5 ครั้ง (สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี) ทำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมหลุด หรือผู้ป่วยหายใจเองได้
(6) ตรวจดูช่องปาก ทำการเขี่ยและเกี่ยวสิ่งแปลกปลอมออกตามข้อ (3)
ควรหาทางป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการสำลักที่เป็นอันตรายร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคทางสมอง หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการกลืน ด้วยการปฏิบัติดังนี้
1. ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารชิ้นโตหรือเคี้ยวลำบาก ที่อาจทำให้เกิดการสำลักที่มีอันตราย (เช่น เนื้อสเต๊ก หมูปิ้ง เป็ดย่าง ไส้กรอก ลูกชิ้น ขนมปัง ขนมเข่ง ขนมโมจิ ขนมเหนียว ๆ ลื่น ๆ ยาเม็ดโต ๆ เป็นต้น) ควรหั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. อย่าให้เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคทางสมอง (เช่น อัมพาต สมองเสื่อม สมองพิการ โรคพาร์กินสัน) หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการกลืน กินผลไม้ที่มีเมล็ด (เช่น เงาะ น้อยหน่า พุทรา ลิ้นจี่ ลำไย เป็นต้น) ด้วยตนเอง ควรมีคนคอยเตรียมให้โดยนำเมล็ดออกและหั่นเป็นชิ้นเล็กเสียก่อนที่จะป้อนให้กิน
3. ควรเฝ้าระวังการเล่นของเด็กเล็ก และเก็บสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ (เช่น ชิ้นส่วนของเล่น กระดุม ลูกปัด ลูกแก้ว เมล็ดพืช เป็นต้น) ไม่ให้เด็กนำไปเล่น
4. อย่าให้เด็กเล็กอมอาหารหรือสิ่งของใด ๆ ขณะวิ่งเล่น อย่าปล่อยให้เด็กกินไปเล่นไป และอย่าให้เด็กเล็กอมลูกอม หรือลูกกวาด
5. ขณะกินอาหารควรนั่งตัวตรง ไม่ควรกินอาหารแบบรีบเร่ง ควรกินอาหารให้ช้าลงหน่อย กินคำเล็ก เคี้ยวง่าย กลืนง่าย และเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน ระหว่างตักอาหารเข้าปากหรือกำลังเคี้ยวอาหาร ไม่ควรพูดคุย หัวเราะ หยอกล้อกัน ควรหลีกเลี่ยงการดูรายการขำขันในทีวี (ซึ่งทำให้หัวเราะ สำลักได้)
6. สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคทางสมอง หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการกลืน ห้ามอม หรือกลั้วคอ หรือกลืน น้ำมันทุกชนิด (เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันละหุ่ง) เพราะเป็นสิ่งที่สำลักได้ง่าย และหากสำลักลงไปในปอด ทำให้ปอดอักเสบ เป็นอันตรายได้
7. ก่อนกินอาหารควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุราจนเมามายและกินยานอนหลับ
1. อาการสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจรุนแรง ถือเป็นภาวะฉุกเฉินร้ายแรง ซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลือให้ทันท่วงที ณ จุดเกิดเหตุ หากช่วยไม่ทันภายใน 4 นาที สมองจะตาย หมดสติ และหากไม่สามารถช่วยให้กลับมาหายใจได้ภายใน 6-8 นาที ก็มักทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือหากรอดชีวิต แต่ก็อาจจะเกิดภาวะสมองพิการถาวรได้
2. ผู้ป่วยบางรายอาจมีการสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กลงไปในหลอดลมและปอดโดยไม่มีอาการผิดปกติในระยะแรก เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานเป็นสัปดาห์ ๆ แรมเดือน หรือแรมปี อาจมาตรวจด้วยอาการปอดอักเสบ (ไข้ ไอ เจ็บหน้าอก หอบ) บางรายอาจมีอาการไอเรื้อรัง หรือไอเป็นเลือด ทำให้วินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคหืด หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ ดังนั้น หากสงสัยมีการสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติ ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ
3. ญาติ ๆ และผู้ดูแลผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน เป็นโรคทางสมอง หรือมีความพิการทางร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการกินอาหารให้ปลอดภัย รวมทั้งข้อควรระวังต่าง ๆ และวิธีช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการสำลักที่มีอันตรายร้ายแรง
4. ผู้ป่วยที่สำลักและสงสัยว่ามีอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมหลุดลงไปในทางเดินหายใจ (เช่น มีอาการไอแรง ๆ ติด ๆ กันไม่หยุด หายใจไม่ได้ หน้าเขียว เล็บเขียว หรือหมดสติ) ควรให้การปฐมพยาบาลตามความเหมาะสม และรีบไปพบแพทย์ที่อยู่ใกล้บ้านที่สุด แม้ว่ามีอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาแล้ว ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจให้แน่ใจว่าไม่มีเศษอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมที่ยังค้างอยู่ในทางเดินหายใจ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการปฐมพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือด้วยวิธีรัดท้องอัดยอดอก ซึ่งมีโอกาสกระทบต่ออวัยวะภายในช่องท้อง (เช่น กระเพาะอาหาร ม้าม) ได้