1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ที่สำคัญคือ เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด และหลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศ ดื่มน้ำมาก ๆ (วันละ 8-12 แก้ว) เพื่อช่วยขับเสมหะ
2. ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ โดยเรียนรู้วิธีใช้ยาที่ถูกต้อง และติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดอย่างต่อเนื่อง
3. ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- มีไข้สูง หรือมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
- เจ็บหน้าอกมาก หายใจหอบหรือหายใจลำบาก
- ไอมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว หรือไอเป็นเลือด
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น นอนราบไม่ได้ (เพราะรู้สึกหายใจลำบาก) หรือเท้าบวม
- ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น
- หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
- มีความวิตกกังวล
2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีมลพิษในอากาศ
3. หลีกเลี่ยงการใช้ฟืนก่อไฟภายในบ้านที่ขาดการถ่ายเทอากาศ
4. ถ้าเป็นโรคหลอดลมอักเสบและโรคหืด ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง
2. ผู้ที่เริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะแรกเริ่ม ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด จะช่วยให้อาการไม่ลุกลามมากขึ้น ผู้ป่วยควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาทางช่วยให้เลิกบุหรี่ ให้ยาบรรเทาตามอาการ ประเมินสมรรถภาพของปอดและภาวะแทรกซ้อนเป็นระยะ ๆ
3. ผู้ป่วยและญาติควรศึกษาให้เข้าใจถึงธรรมชาติของโรคและแนวทางการดูแลรักษา ญาติควรเข้ามามีบทบาทในการให้กำลังใจผู้ป่วย ในการเลิกบุหรี่และการติดตามรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดูแลเรื่องโภชนาการ (ผู้ป่วยระยะรุนแรงมักมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งจะทำให้ซ้ำเติมอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น) การให้ออกซิเจนที่บ้าน (สำหรับผู้ป่วยระยะรุนแรง) การใช้ยารักษาให้ครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด การพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน และการเตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (end of life) ให้มีคุณภาพ ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และไม่ให้สิ้นเปลืองเกินเหตุ
4. โรคถุงลมปอดโป่งพอง อาจมีอาการหายใจหอบและได้ยินเสียงวี้ดคล้ายโรคหืด แต่ต่างกันตรงที่ถุงลมปอดโป่งพองจะเริ่มมีอาการในคนอายุ 50-60 ปีขึ้นไปที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดหรือถูกมลพิษทางอากาศมาเป็นเวลานาน และมีอาการหอบเหนื่อยรุนแรงขึ้นทีละน้อยอย่างช้า ๆ (ใช้เวลานาน 5-10 ปีขึ้นไป) ส่วนโรคหืดมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยเด็ก มักมีประวัติโรคหืดหรือโรคภูมิแพ้ในครอบครัว และมีอาการหอบกำเริบเป็นครั้งคราว บางครั้งก็อาจแยกกันไม่ได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในคนอายุมาก อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 โรคนี้มีแนวทางการดูแลรักษาคล้ายกัน และควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์เป็นหลัก