เลือดออกใต้ตาขาว
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก
ในระยะแรกของโรค อาจตรวจพบไข้ต่ำ ๆ น้ำมูกไหล คล้ายไข้หวัด
ในระยะต่อมาที่มีอาการไอรุนแรง มักไม่มีไข้ คอไม่แดง และเสียงปอดปกติ อาจพบปื้นแดงที่ตาขาว หนังตาบวมฟกช้ำ อาจพบอาการไอเป็นชุด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้
ในรายที่มีโรคปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบแทรกซ้อน อาจมีไข้ และเวลาใช้เครื่องฟังตรวจปอดจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation) หรือเสียงอึ๊ด (rhonchi)
ในรายที่จำเป็นต้องวินิจฉัยให้แน่ชัด แพทย์จะตรวจเลือด (ทำการทดสอบทางน้ำเหลือง) เพื่อตรวจหาระดับสารภูมิต้านทานต่อเชื้อไอกรน หรือตรวจหาเชื้อจากบริเวณคอหอย
1. หากมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่มีอาการไอรุนแรง ไอติดต่อกันครั้งละนาน ๆ จนตัวงอและหายใจแทบไม่ทัน เมื่อหยุดไอจะหายใจเข้ายาว ๆ เสียงดังวู้บ หรือสงสัยว่าเป็นไอกรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในเด็กที่มีประวัติว่าไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเป็นไอกรน ควรดูแลตนเอง ดังนี้
- รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัด ดังนี้
- ให้เด็กอยู่ในที่ที่อากาศปลอดโปร่ง ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ เพื่อให้เสมหะใสและขับออกง่าย
- ให้อาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดอาการอาเจียน ถ้าอาเจียนมากให้อาหารทีละน้อย และให้ทดแทนหลังอาเจียน หรือให้น้ำเกลือผสมเอง (น้ำสุก 1 ขวด แม่โขงกลม + น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ + เกลือแกง 1/2 ช้อนชา)
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- มีอาการผิดสังเกต เช่น หายใจหอบ อาเจียนมาก กินอาหารได้น้อย น้ำหนักลด เป็นต้น
- หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
2. ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ควรไปพบแพทย์เพี่อทำการป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้
2. สำหรับผู้สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิด ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน ควรฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนตามปกติ ถ้าเคยฉีดมาแล้ว 3 ครั้ง ควรฉีดกระตุ้นอีกครั้ง (ยกเว้นฉีดเข็มสุดท้ายมาภายใน 6 เดือน) ถ้าเคยฉีดมาแล้วอย่างน้อย 4 ครั้ง ควรฉีดกระตุ้นอีกครั้ง (ยกเว้นฉีดเข็มสุดท้ายมาภายใน 3 ปี หรืออายุเกิน 6 ปี) นอกจากนี้แพทย์จะให้ยาอีริโทรไมซินกินป้องกันนาน 14 วัน
2. การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคนี้ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการอยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วย