
- ความดันโลหิตปกติ หมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าต่ำกว่า 130 มม.ปรอท และความดันช่วงล่างมีค่าต่ำกว่า 85 มม.ปรอท
- ความดันโลหิตสูง (ความดันเลือดสูง ความดันสูง ก็เรียก) หมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป
โดยมากผู้ป่วยจะมีความดันช่วงล่างสูง (diastolic hypertension) โดยความดันช่วงบนจะสูงหรือไม่ก็ได้

การตรวจวัดความดัน

- ความดันช่วงบน ≥ 180 หรือช่วงล่าง ≥ 110 มม.ปรอท
- มีความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที
- ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นก่อนอายุ 30 ปี หรือหลังอายุ 50 ปี
- พบภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น หัวใจห้องล่างซ้ายโต มีค่าครีอะตินีนในเลือด > 1.5 มก./ดล.
- จอตาเสื่อม (hypertensive retinopathy) ระดับ 3 หรือ 4
- คุมความดันไม่ได้หลังจากเคยคุมได้ดีมาก่อน หรือใช้ยาลดความดันหลายชนิดแล้วยังคุมความดันไม่ได้
- มีอาการที่สงสัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ
3. ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว มักพบในผู้สูงอายุ (ยิ่งอายุมาก ก็ยิ่งมีโอกาสพบได้มากขึ้น) โรคคอพอกเป็นพิษ ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ (coarctation of aorta) ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (aortic insufficiency)

นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดภาวะจุดภาพชัดเสื่อมตามวัย โรคหลอดเลือดแดงหลักของจอตาอุดตัน ทำให้สายตาพิการได้

- ความดันโลหิตสูง
- เบาหวาน
- ไขมันในเลือดผิดปกติ คอเลสเตอรอลรวม ≥ 240 มก./ดล. หรือแอลดีแอลคอเลสเตอรอล
- ≥ 160 มก./ดล. หรือเอชดีแอลคอเลสเตอรอล < 40 มก./ดล.
- อ้วน (ดัชนีมวลกาย ≥ 30 กก./ม.2)
- การสูบบุหรี่
- การขาดการออกกำลังกาย
- ภาวะมีสารไข่ขาวในปัสสาวะระยะแรก ≥ 30 มก./วัน (microalbuminuria)
- อายุ ≥ 55 ปีในผู้ชาย หรือ ≥ 65 ปีในผู้หญิง
- ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดในครอบครัวที่เป็นก่อนวัยอันควร (< 55 ปีในผู้ชาย หรือ < 65 ปีในผู้หญิง)
แพทย์จะวินิจฉัยจากการตรวจพบค่าความดันเฉลี่ยจากการวัดที่สถานพยาบาลตั้งแต่มาพบแพทย์ครั้งแรกเป็นหลัก โดยทำการวัดความดันในท่านั่ง อย่างน้อย 2 ครั้ง (ห่างกัน 1-2 นาที) แล้วหาค่าเฉลี่ย ถ้าพบว่าค่าความดันเฉลี่ยสูงกว่าปกติ คือ ความดันโลหิตช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป ก็จะวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่พบความผิดปกติชัดเจน ยกเว้นในรายที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ อาจพบอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น
- ชีพจรเร็ว มือสั่น ต่อมไทรอยด์โตในรายที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือคอพอกเป็นพิษ
- ชีพจรที่ขาหนีบคลำไม่ได้หรือคลำได้แผ่วเบาในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ
- คลำได้ก้อนในท้องส่วนบน 2 ข้าง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงน้ำไตชนิดหลายถุง
- ใช้เครื่องฟังได้ยินเสียงฟู่ (bruit) ที่หน้าท้องตรงบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือซ้าย ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงไตตีบ
- ได้ยินเสียงฟู่ (murmur) ตรงลิ้นหัวใจเอออร์ติก ในผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว
- รูปร่างอ้วนฉุ หน้าอูม มีไขมัน (หนอกควาย) ที่หลังคอ อาจมีประวัติกินยาสตีรอยด์ ยาชุด หรือยาลูกกลอน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคคุชชิง เป็นต้น


1.1 ความดันช่วงบน 130-139 และ/หรือความดันช่วงล่าง 85-89 มม.ปรอท แนะนำให้ปรับพฤติกรรมเป็นหลัก และอาจให้ยาลดความดันในรายที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย
1.2 ความดันช่วงบน 140-159 และ/หรือความดันช่วงล่าง 90-99 มม.ปรอท แนะนำให้ปรับพฤติกรรม และให้ยาลดความดันในกลุ่มเสี่ยงกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด (2) ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (3) ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ผู้ที่เป็นเบาหวาน ผู้ที่มีร่องรอยการทำลายของอวัยวะจากโรคความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปี (10-year Thai CV risk score)**
สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะให้ยาลดความดัน เมื่อลองปรับพฤติกรรมและติดตามนาน 3-6 เดือนแล้วความดันยังไม่ลดได้เป็นปกติตามเป้าหมาย
1.3 ความดันช่วงบน 160-179 และ/หรือความดันช่วงล่าง 100-109 มม.ปรอท แนะนำให้ปรับพฤติกรรม และให้ยาลดความดันในกลุ่มเสี่ยง (ดังในข้อ 1.2)
สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดความดันในผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูงหลายคน ผู้ที่มีอาการ (เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น) หรือผู้ที่มีความวิตกกังวลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงค่อนข้างมาก
1.4 ความดันช่วงบน ตั้งแต่ 180 และ/หรือความดันช่วงล่างตั้งแต่ 110 มม.ปรอทขึ้นไป แนะนำให้ปรับพฤติกรรม และให้ยาลดความดัน
1.5 สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป แพทย์จะเริ่มให้ยาลดความดันเมื่อมีความดันช่วงบนตั้งแต่ 160 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป
ถ้าหากผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงมากเนื่องจากเคยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง) แพทย์อาจพิจารณาเริ่มให้ยาลดความดันเมื่อมีความดันช่วงบนตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป
1.6 เป้าหมายของการลดความดันโลหิต ในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 65 ปี ที่เป็นความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว หรือมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง) ความดันที่วัดที่สถานพยาบาล ควรให้ค่าความดันช่วงบนอยู่ที่ 120-130 และช่วงล่างอยู่ที่ 70-79 มม.ปรอท
ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ที่เป็นความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว หรือมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง) ความดันที่วัดที่สถานพยาบาล ควรให้ค่าความดันช่วงบนอยู่ที่ 130-139 และช่วงล่างอยู่ที่ 70-79 มม.ปรอท
4. การรักษาโรคที่พบร่วม ในรายที่มีโรคหรือภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น แพทย์ก็จะให้ยารักษาโรคเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย
- วัดความดันไม่ถูกต้อง
- สั่งให้ยาลดความดันในขนาดน้อยไป
- ผู้ป่วยไม่ยอมกินยาตามสั่ง
- กินอาหารที่มีโซเดียมสูง
- ใช้ยาที่ทำให้ความดันโลหิตสูง
- น้ำหนักตัวขึ้นมาก (อ้วน)
- ดื่มแอลกอฮอล์จัด
- เป็นความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ
**ดูเพิ่มเติมที่ https://med.mahidol.ac.th/cardio_vascular_risk/thai_cv_risk_score/tcvrs_en.html
- ดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
- หมั่นวัดความดันที่บ้านหรือสถานพยาบาลใกล้บ้านประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง
- กินยาลดความดันให้ครบถ้วนตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ปรับยาเองตามใจชอบ แม้ว่าจะรู้สึกสบายดีแล้วก็ตาม (ความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการแสดงให้รู้สึก ควรดูผลว่าดีหรือไม่ด้วยการวัดความดันเท่านั้น)
- หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิด (เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ข้ออักเสบ ยาชุดหรือยาลูกกลอนที่ผสมยาสตีรอยด์) อาจทำให้ความดันสูงได้
- ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือสารสกัดจากสมุนไพรที่อาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เช่น ชะเอม, ชะเอมเทศ, ส้มขม, มาฮวง, โยฮิมบี เป็นต้น
- หมั่นปฏิบัติตัวในการควบคุมโรคอย่างจริงจัง (อ่านเพิ่มที่ "การปรับพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง และป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด" หัวข้อการป้องกัน ด้านล่าง)
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- วัดความดันแล้วพบว่าสูงต่อเนื่องกัน 2-3 ครั้ง
- ขาดยาหรือยาหาย
- มีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ หรือหน้ามืดนานเป็นวัน ๆ หรือลุกขึ้นนั่งหรือยืนรู้สึกจะเป็นลม
- มีอาการเจ็บจุกแน่นหน้าอก พูดอ้อแอ้ ปากเบี้ยว หรือแขนขาชาหรืออ่อนแรง
- มีอาการเบื่ออาหารหรือกินอาหารได้น้อยนานหลายวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ (เพราะอาจเกิดภาวะความดันต่ำเกินจากยาที่กินได้)
- สังเกตพบมีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยา เช่น อ่อนเพลีย ท้องอืด ท้องผูก (มักเกิดจากยาขับปัสสาวะ), ไอเรื้อรัง (มักเกิดจากยาต้าเอซ เช่น อีนาลาพริล) เท้าบวม (มักเกิดจากยาต้านแคลเซียม เช่น แอมโลดิพีน) หรือกินยาแล้วมีอาการผิดสังเกตอื่น ๆ เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
- จำกัดเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) < 6 กรัม หรือ 1 ช้อนชา/วัน
- ลดการบริโภคอาหารที่ใส่ผงฟู (เช่น ขนมปัง ขนมถ้วยฟู ขนมสาลี่) ผงชูรส (sodium monoglutamate) และสารกันบูด (sodium benzoate เช่น อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป) รวมทั้งโซเดียมไบคาร์บอเนต (เช่น ยาธาตุน้ำแดง ยาเม็ด โซดามินต์)
3. บริโภคอาหารควบคุมความดัน (dietary approaches to stop hypertension/DASH)
- กินผักและผลไม้ให้มาก ๆ (มีโพแทสเซียมมาก ซึ่งมีผลดีต่อการควบคุมความดัน)
- กินผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ
- ลดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล
- กินเมล็ดธัญพืช ปลา ถั่วต่าง ๆ ให้มาก ๆ
- ลดเนื้อสัตว์ใหญ่ (เนื้อแดง) น้ำตาล ของหวาน
4. ออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เกือบทุกวัน
- ผู้หญิงดื่มไม่เกินวันละ 1 ดื่มมาตรฐาน (standard drink)
- ผู้ชายดื่มไม่เกินวันละ 2 ดื่มมาตรฐาน
- เบียร์ ไวน์คุลเลอร์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 5% ปริมาณ 250 มล. (3/4 กระป๋อง)
- เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 6.4% ปริมาณ 200 มล. (1/2 กระป๋อง หรือ 1/2 ขวดเล็ก)
- น้ำขาว อุ กระแช่ 10% ปริมาณ 150 มล. (3 เป๊ก/ตอง/ก๊ง)
- สาโท สุราแช่ สุราพื้นเมือง 6% ปริมาณ 200 มล. (4 เป๊ก/ตอง/ก๊ง)
6. งดบุหรี่ และยาเม็ดคุมกำเนิด
ค่าปกติ = 18.5 - 22.9 กก./ม.2
ถ้าต่ำกว่า 18.5 กก./ม.2 แสดงว่าน้ำหนักน้อยเกินไป
≥ 27 กก./ม.2 แสดงว่ามีความเสี่ยงสูง
≥ 30 กก./ม.2 แสดงว่ามีภาวะอ้วน
4. การวัดความดันโลหิตที่บ้าน (home blood pressure monitoring, HBPM)
ผู้ป่วยควรมีเครื่องวัดความดันแบบพกพา (ชนิดทำงานอัตโนมัติ ใช้วัดที่ต้นแขน) ไว้วัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นประจำ โดยควรศึกษาหรือขอแนะนำวิธีใช้ ความถี่ที่วัด และการแปลผลให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน ซึ่งมีประโยชน์ในการวินิจฉัย การติดตามการรักษา และการควบคุมโรคอย่างมาก
บางรายวัดที่บ้านจะมีค่าความดันโลหิตไม่สูง (คือ ความดันช่วงบนต่ำกว่า 135 และความดันช่วงล่างต่ำกว่า 85 มม.ปรอท) แต่เมื่อไปวัดที่สถานพยาบาลจะพบว่าความดันโลหิตสูง (คือ ความดันช่วงบนตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป) อาการลักษณะนี้เรียกว่า "White-coat hypertension" หรือ "Isolated office hypertension" หมายถึง ความดันโลหิตสูงเฉพาะที่สถานพยาบาล แพทย์จะปรับการรักษาโดยพิจารณาจากค่าความดันที่บ้านประกอบ และปรับการให้ยาลดความดันไม่ให้มากเกินไป
ตรงกันข้าม บางรายวัดที่บ้านมีค่าความดันโลหิตสูง (คือ ความดันช่วงบนตั้งแต่ 135 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างตั้งแต่ 85 มม.ปรอทขึ้นไป) แต่เมื่อไปวัดที่สถานพยาบาลจะพบว่าความดันโลหิตไม่สูง (คือ ความดันช่วงบนต่ำกว่า 140 มม.ปรอท และความดันช่วงล่างต่ำกว่า 90 มม.ปรอท) อาการลักษณะนี้เรียกว่า "Masked hypertension" หมายถึง ความดันโลหิตสูงแบบซ่อนเร้น หรือความดันโลหิตปกติเฉพาะที่สถานพยาบาล แพทย์จะปรับการรักษาโดยพิจารณาจากค่าความดันที่บ้านประกอบ และปรับการให้ยาลดความดันไม่ให้น้อยเกินไป